Abstract:
ดินเบา (Diatomite) มีความเบา มีรูพรุนมาก และมีไดอะตอมเป็นสมบัติเฉพาะ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรมต่างๆได้ เช่น อุตสาหกรรมประเภทการกรอง การเติม วัสดุผสมน้ำหนักเบา ฉนวนความร้อน และใช้ในการผลิต วัสดุดูดซับของเสีย เป็นต้น ผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์ เป็นผลิตภัณฑ์จากดินเบา ใช้ในการดูดซับน้ำ โดยมีการ โฆษณาจากผู้ผลิตสินค้าว่า องค์ประกอบหลักของพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์คือดินเบาจากธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ ผู้ศึกษาจึงทำ การวิเคราะห์ตัวอย่างพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์ด้วยวิธีการทางธรณีวิทยาเพราะต้องการรู้องค์ประกอบและปริมาณไดอะตอมที่ ใช้ และวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทยควบคู่ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ผู้ศึกษาได้ ปรับปรุงคุณภาพของดินเบาจากธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมาก ยิ่งขึ้น จากการศึกษาตัวอย่างพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์ พบว่าองค์ประกอบหลักของพรมเช็ดเท้าที่ขายในท้องตลาดไม่พบ ส่วนประกอบที่เป็นไดอะตอม แต่ประกอบด้วยควอตซ์ (Quartz) แร่ไครโซไทล์ (Chrysotile) และแร่โทเบอร์โมไรท์ (Tobermorite) มีธาตุองค์ประกอบหลักคือ ซิลิกอนไดออกไซด์ แคลเซียมออกไซด์ และแมกนีเซียมออกไซด์ สอดคล้องกับ คุณสมบัติทางเคมีของแร่องค์ประกอบหลักทั้งสอง แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นแร่ใยหินในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ มีการใช้งานใน อุตสาหกรรมต่างๆมากที่สุด เนื่องจากส่งผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่าแร่ใยหินชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ องค์ประกอบแร่ทั้งสองชนิด มักถูก ใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากมีความทนทาน น้ำหนักเบา และเป็นฉนวนความร้อน นอกจากนี้ การศึกษาตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติในประเทศไทยพบว่า มีองค์ประกอบหลักคือไดอะตอม แร่ดินคาโอ ลิไนต์ (Kaolinite), และแร่มอนต์มอริลโลไนต์ (Montmorillonite) ทำให้ตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติมีองค์ประกอบของได อะตอมอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน รวมถึงมีการปนเปื้อนของอะลูมิเนียมออกไซด์ และไอออนออกไซด์มากจนเกินไป หลังจากปรับปรุงคุณภาพและเปรียบเทียบตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติและดินเบาที่ผ่านปรับปรุงคุณภาพด้วยการหมุนเหวี่ยง แล้ว พบว่าตัวอย่างดินเบาในส่วนที่ตกจม (Pellet) มีสัดส่วนของ ซิลิกอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 5 และมีการ ปนเปื้อนของอะลูมิเนียมออกไซด์ และ ไอออนออกไซด์ ลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดินเบาจากธรรมชาติที่ผ่านปรับปรุง คุณภาพแล้วแม้ว่าจะมีสัดส่วนของไดอะตอมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีสัดส่วนของไดอะตอมต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดสำหรับการใช้งาน ในอุตสาหกรรมหลายชนิด จึงจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของไดอะตอมไมต์ต่อไป