Abstract:
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของการเชื่อมโยงพันธะโครงเลี้ยงเซลล์เจลาติน-ไคโตซาน (70:30) สำหรับใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนัง โครงเลี้ยงเซลล์ถูกขึ้นรูปด้วยวิธีการทำแห้งแข็งและเชื่อมโยงพันธะแบบแช่และแบบใช้ความร้อนร่วมกับอบไอสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ (GA) โดยมีการศึกษาผลของอุณหภูมิ (4, 25, 37 องศาเซลเซียส), เวลา (6, 12, 24, 48 ชั่วโมง), และความเข้มข้นของสารละลาย GA (0.03, 0.06, 0.085, 0.12% wt/v) ที่ใช้ในการเชื่อมโยงพันธะ การทดสอบลักษณะสมบัติทางกายภาพและทางเคมีพบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการเชื่อมโยงพันธะแบบแช่และแบบใช้ความร้อนร่วมกับอบไอสารละลาย GA คือ ใช้ความเข้มข้นของ GA 0.06%โดยปริมาตร อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงในที่มืด และใช้ความเข้มข้นของ GA 0.0047%โดยปริมาตร อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงในที่มืด ตามลำดับ ทำให้ได้โครงเลี้ยงเซลล์ที่เชื่อมโยงพันธะแบบแช่และแบบใช้ความร้อนร่วมกับอบไอสารละลาย GA มีขนาดรูพรุน 95-105 และ 85-95 ไมครอน ความทนแรงกด 0.4-0.5 กิโลปาสคาล และ 0.25-0.35 กิโลปาสคาล ค่าครึ่งชีวิตของการย่อยสลายด้วยเอนไซม์คอลลาจีเนส 32 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ภายนอกร่างกายประมาณ 8-9 วัน และ 7-8 วัน ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบโครงเลี้ยงเซลล์ที่เชื่อมโยงพันธะด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงพันธะด้วยความร้อน และการเชื่อมโยงพันธะแบบใช้ความร้อนร่วมกับแช่สารละลาย dimethy laminopropyl carbodiimide hydrochloride/N-hydroxysuccinimideที่เชื่อมโยงพันธะแบบใช้สารเคมีมีระดับการเชื่อมโยงพันธะ ความทนแรงกด การสูญเสียน้ำหนักและการหดตัวสูงกว่าโครงเลี้ยงเซลล์แบบ DHT โครงเลี้ยงเซลล์ที่เชื่อมโยงพันธะแบบอบไอ GA มีลักษณะสมบัติใกล้เคียงกับโครงเลี้ยงเซลล์ที่เชื่อมโยงพันธะแบบแช่ EDC/NHS แต่โครงเลี้ยงเซลล์ทั้งสองชนิดนี้มีการสูญเสียน้ำหนักและการหดตัวที่ค่อนข้างสูง โครงเลี้ยงเซลล์แบบอบไอ GA ผ่านการทดสอบความเป็นพิษของโครงเลี้ยงเซลล์ด้วยวิธี elution test ตามมาตรฐาน ISO 10993 (EDC/NHS) ขนาดรูพรุนของโครงเลี้ยงเซลล์ที่ผ่านการเชื่อมโยงพันธะแบบต่างๆไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โครงเลี้ยงเซลล์