DSpace Repository

การพัฒนากระบวนการนำสังกะสีจากแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอนเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ
dc.contributor.author ณัฐณิชา เกียรติศิริวัฒนะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-18T04:00:59Z
dc.date.available 2022-05-18T04:00:59Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78616
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract สังกะสีจากแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอนที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่เป็นขั้วแอโนดของแบตเตอรี่สังกะสีไอออนเพื่อลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดจากโลหะหนักซึ่งเป็นส่วนประกอบในแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอน งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นวิธีการรีไซเคิลแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอนที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และประหยัด โดยใช้เกณฑ์ปริมาณผงสังกะสีคาร์บอนและเวลาที่เหมาะสมในการแยกองค์ประกอบฐานสังกะสีจากแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอนด้วยการละลายในน้ำปราศจากไอออนในการพิจารณา กากตะกอนที่เหลือถูกนำไปตรวจสอบโครงสร้างและชนิดด้วยเทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน (X-ray diffraction: XRD) ส่วนสารละลายสามารถนำไปตรวจสอบปริมาณสังกะสีด้วยเทคนิค Inductive coupled plasma-optical emission spectrometer (ICP-OES) พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การกลับคืนอยู่ 14, 11 และ 8% ในการใช้ผงสังกะสีคาร์บอน 5, 25 และ 50 g ตามลำดับ หลังจากนั้นสารละลายที่ให้ปริมาณสังกะสีที่เหมาะสมถูกนำมาผ่านกระบวนการสะสมทางไฟฟ้า (electrodeposition) เพื่อชุบสังกะสีบนแผ่นเหล็กกล้าไรสนิมและฟอยล์ทองแดงด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้า ซึ่งถูกนำมาทดสอบใช้เป็นขั้วแอโนดของแบตเตอรี่สังกะสีไอออน ผลจากการทดลองจะพบว่าสังกะสีที่ชุบบนฟอยล์ทองแดงมีประสิทธิภาพในการเกิดปฏิกิริยาทางไฟฟ้าได้ดีกว่าสังกะสีที่เคลือบบนเผ่นเหล็กกล้าไรสนิมโดยให้ความจุคงที่สูงกว่าที่ 50 mAhg⁻¹ ที่ความต่างศักย์ 1.00-1.75 V ต่อความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 0.1-0.5 A/g en_US
dc.description.abstractalternative Zinc metal from spent zinc-carbon batteries can be used as an anode electrode in zinc-ion batteries, in order to reduce heavy metal in the zinc-ion batteries that leads to environmental and health issues. Hence, this work attempts to recycle zinc metal from zinc-carbon batteries with a simple, efficient and cost effective strategy by using optimized amount of zinc-carbon powder and time in separating zinc metal from the spent zinc-carbon batteries with deionized water as criterias. Phase identification of solid residues was carried out using X-ray diffraction (XRD), while the quantitative analysis of zinc in the solutions was performed using Inductive coupled plasma- optical emission spectrometer (ICP-OES). Zinc recovery percentage from 5, 25 and 50 g of zinc-carbon powder was found to be 14, 11 and 8%, respectively. After that, the solution giving the optimized amount of zinc was subjected to electrodeposition of zinc on stainless and copper foils, which were tested as anodes in the zinc-ion batteries. The results showed that the zinc-coated copper foil demonstrated better performance than the zinc-coated stainless one by showing stable and higher capacity of 50 mAhg-1 at voltage of 1.00-1.75 V with current density of 0.1-0.5 A/g. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แบตเตอรี่ en_US
dc.subject สังกะสี en_US
dc.subject Electric batteries en_US
dc.subject Zinc en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการนำสังกะสีจากแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอนเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ en_US
dc.title.alternative Development of Zinc Recovery from spent Zinc Carbon Batteries en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record