DSpace Repository

การเตรียมขั้วไฟฟ้าวัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีน เพื่อประยุกต์ใช้เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดด้วยวิธีการขึ้นรูปแบบซิลค์สกรีน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์
dc.contributor.advisor ประณัฐ โพธิยะราช
dc.contributor.author พงศ์ธร เรืองวงษ์
dc.contributor.author บุษยมาส มีราศรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-18T09:48:33Z
dc.date.available 2022-05-18T09:48:33Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78630
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวัสดุศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้สนใจศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในกักเก็บประจุไฟฟ้า และประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานของตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวด โดยนำวัสดุกราฟีน (graphene) ที่มีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าและพอลิเมอร์นำไฟฟ้า เช่น พอลิอะนิลีน (polyaniline) มาเสริมประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน และนำมา พัฒนาเป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวด โดยวัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีนถูกสังเคราะห์โดยวิธีอินซิทูพอลิเมอไรเซชัน โดยองค์ประกอบในการศึกษามุ่งเน้นศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์วัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีน โดยใช้อัตราส่วนโดยน้ำหนักของกราฟีน เจือไนโตรเจน/ซัลเฟอร์และอะนีลีนมอนอเมอร์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ 100:0, 90:10, 80:20, 70:30, 50:50, 30:70 และ 0:100 ตามลำดับ โดยลักษณะสัณฐานวิทยาของวัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีนที่สังเคราะห์ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด พบว่าพอลิอะนิลีนมีลักษณะเป็นแผ่นและเส้นใยเล็ก ๆ กระจายตัวอยู่บนพื้นผิวของกราฟีน และโครงสร้างทางเคมีหมู่ฟังก์ชันทางเคมีของกราฟีน พอลิอะนิลีน และกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นนั้นถูกยืนยันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรดสเปกโทรสโคปี หลังจากนั้นวัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีนนั้นถูกนำไปขึ้นรูปขั้วไฟฟ้าด้วยเทคนิคซิลค์สกรีนเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกักเก็บประจุไฟฟ้า โดยจากการวิเคราะห์ สมบัติทางไฟฟ้าเคมีด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตทรี และเทคนิคกัลวานิคสแตติกชาร์จดิสชาร์จ พบว่าวัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีนที่อัตราส่วนกราฟีนเจือไนโตรเจน/ซัลเฟอร์และพอลิอะนิลีนที่ 80:20 ให้ค่าในการกักเก็บประจุไฟฟ้าสูงที่สุด คือ 276 ฟารัดต่อกรัม และให้ค่าความหนาแน่นพลังงานเท่ากับ 138 วัตต์-ชั่วโมงต่อกิโลกรัม และค่าความหนาแน่นของกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 1931 วัตต์ต่อกิโลกรัม แสดงให้เห็นว่ามี ความสามารถในการกักเก็บประจุไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างกราฟีนเจือไนโตรเจน/ซัลเฟอร์และพอลิอะนิลีนที่อัตราส่วนที่เหมาะสม en_US
dc.description.abstractalternative N,S-doped graphene/polyaniline composites are successfully synthesized via in-situ polymerization. The different weight ratio of N,S-doped graphene to polyaniline ranging from 100:0, 90:10, 80:20, 70:30, 50:50, 30:70 and 0:100 is investigated the electrochemical properties. Scanning Electron Microscopy indicates the surface morphology of N,S-doped graphene/polyaniline composites, desmontrating the successful coating of polyaniline on graphene surface. The chemical structure is studied by Fourier Transform Infrared Spectroscopy, confirming the evident signals of graphene, polyaniline, N,S-doped graphene/polyaniline characteristics. The electrochemical properties of N,S-doped graphene/polyaniline electrode is characterized by cyclic voltammetry (CV) and galvanostatic charge-discharge curve (GCD). The synthesized rGO-NS/PANI electrode at N,S-doped graphene/polyaniline ratio of 80:20 can reach the highest specific capacitance of 276.0 F g⁻¹ and the energy density can reach 138 Wh kg⁻¹ at a power density of 1931 W kg⁻¹, resulting from the synergistic effect between N,S-doped graphene and polyaniline. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวด en_US
dc.subject กราฟีน en_US
dc.subject Supercapacitors en_US
dc.subject Graphene en_US
dc.title การเตรียมขั้วไฟฟ้าวัสดุเชิงประกอบกราฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์/พอลิอะนิลีน เพื่อประยุกต์ใช้เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดด้วยวิธีการขึ้นรูปแบบซิลค์สกรีน en_US
dc.title.alternative Preparation of N,S-doped graphene/polyaniline for supercapacitor electrode by silkscreen technique en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record