dc.contributor.advisor | อภิชาติ อิ่มยิ้ม | |
dc.contributor.advisor | นครา ภวะเวส | |
dc.contributor.author | พณาวรรณ์ ประมูลวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-20T01:55:21Z | |
dc.date.available | 2022-05-20T01:55:21Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78633 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | อิมิดาโคลพริดเป็นยาฆ่าแมลงกลุ่มนีโอนิโคทินอยด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงสิบปีที่ผ่าน มา ซึ่งอิมิดาโคลพริดมีความเป็นพิษส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและมนุษย์ได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนา วิธีการวิเคราะห์อิมิดาโคลพริดโดยเทคนิคการสกัดด้วยของเหลว โดยใช้ตัวทำละลายดีปยูเทคติกที่มี องค์ประกอบจากเมนทอลและไทมอลเป็นวัฏภาคที่ใช้สกัด และตรวจวัดอิมิดาโคลพริดด้วยวิธีการดูดกลืนแสง งานนี้ได้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมของการสกัดได้แก่ ชนิดตัวทำละลายดีปยูเทคติกและอัตราส่วน พีเอช อัตราส่วน ของวัฏภาคน้ำต่อวัฏภาคตัวทำละลายดีปยูเทคติก เวลาที่ใช้ในการผสมและอุณหภูมิ จากผลการศึกษาพบว่า ภาวะที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการสกัด ได้แก่ อัตราส่วนเมนทอลต่อไทมอล เท่ากับ 1:2 พีเอชที่ เหมาะสม คือ พีเอช 6 อัตราส่วนของวัฏภาคน้ำต่อวัฏภาคตัวทำละลายดีปยูเทคติก คือ 3:1 นอกจากนี้พบว่า เวลาที่ใช้ในการเขย่าผสมวัฏภาคน้ำและวัฏภาคตัวทำละลายดีปยูเทคติกเข้าด้วยกัน คือ 3 นาที ซึ่งเป็นระยะที่ คาดว่าการสกัดเข้าสู่สมดุล และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสกัด คือ 35 องศาเซลเซียส จากการศึกษาพบว่า ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม การสกัดอิมิดาโคลพริดด้วยตัวทำละลายดีปยูเทคติก พบว่าประสิทธิภาพของการสกัด มากกว่า 80% ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการสกัดด้วยของเหลว โดยใช้ตัวทำ ละลายดีปยูเทคติกที่ได้จากสารธรรมชาติที่มีราคาถูก ความเป็นพิษต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และวิธีวิเคราะห์ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่มีราคาแพง ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของวิธีที่จะนำไปพัฒนาและ ประยุกต์ใช้ได้กับการวิเคราะห์ทางการเกษตรและอื่น ๆ ต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Imidacloprid, a class of neonicotinoid insecticide, has been widely popular in the last decade; however, it is highly toxic and can severe ecosystems and worse human health. This work is thus aimed to develop a solvent extraction method for removal of imidacloprid from aqueous solutions using a deep eutectic solvent (DES) composed of menthol and thymol. The extraction efficiency was then evaluated by UV-Vis spectrophotometry. In the optimizations of extraction, a molar ratio of the DES components, pH, ratio between the aqueous phase and DES phase, vortex time, and temperature were investigated. The results exhibited that menthol: thymol of 1:2, among other ratios, showed the best extraction efficiency. The selected pH for the extraction was 6. The optimal ratio of the aqueous phase:DES phase was 3:1 and the vortex time of 3 min showed that the extraction was reaching an equilibrium. Also, the optimal temperature was found to be 35 °C. Under the optimum conditions, the study revealed the extraction efficiency of higher than 80%, indicating the successfully developed solvent extraction technique using natural-based DES, which is inexpensive, non-toxic, and environmentally friendly. Also, the proposed method is simple and required no complicated and expensive instruments, demonstrating a potential method for analytical applications in agriculture and other fields. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ยาฆ่าแมลง | en_US |
dc.subject | อิมิดาโคลพริด | en_US |
dc.subject | Insecticides | en_US |
dc.subject | Imidacloprid | en_US |
dc.title | การสกัดอิมิดาโคลพริดด้วยวิธีการสกัดด้วยของเหลวโดยใช้ตัวทำละลายดีปยูเทคติกจากธรรมชาติ | en_US |
dc.title.alternative | Solvent Extraction of Imidacloprid Using Natural-Based Deep Eutectic Solvent | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |