dc.contributor.advisor |
สมชาย เกียรติกมลชัย |
|
dc.contributor.author |
สิทธิกร คำทอง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-23T08:07:56Z |
|
dc.date.available |
2022-05-23T08:07:56Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78663 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาฟิสิกส์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
ในการทดลองนี้ได้วัดค่าสภาพนำความร้อนของสารไอรอนไดซิลิไซด์ด้วยเครื่องนาโนแฟลช (Nano Flash) โดยทำการวัดชิ้นงานก่อนการอบอ่อนและหลังการอบอ่อน ชิ้นงานมี 2 ประเภทคือไม่เจือดีบุกและเจือดีบุก 0.3 เปอร์เซ็นต์อะตอม ก่อนการอบอ่อนความสัมพันธ์ระหว่างค่าสภาพนำความร้อนกับอุณหภูมิของทุกชิ้นงาน มีแนวโน้มคล้ายกันนั่นคือ (1) ค่าสภาพนำความร้อนลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นและ (2) ค่าสภาพนำความร้อนของชิ้นงานที่เจือดีบุกมีแนวโน้มสูงกว่าชิ้นงานที่ไม่เจือดีบุก ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสค่าสภาพนำความร้อนของชิ้นงานที่เจือดีบุกมีค่าอยู่ในช่วง 17.0-21.0 W/m·K ส่วนชิ้นงานที่ไม่เจือดีบุกจะอยู่ในช่วง 14.5-18.5 W/m·K หลังการอบอ่อนความสัมพันธ์ระหว่างค่าสภาพนำความร้อนกับอุณหภูมิของทุกชิ้นงานยังเหมือนเดิมคือ (1) ค่าสภาพนำความร้อนลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นและ (2) ค่าสภาพนำความร้อนของชิ้นงานที่เจือดีบุก ยังคงมีแนวโน้มสูงกว่าชิ้นงานที่ไม่เจือดีบุกที่ทุกค่าของอุณหภูมิทดลอง ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสค่าสภาพนำความร้อนของชิ้นงานที่เจือจะอยู่ในช่วง 16.0-33.0 W/m·K ซึ่งสูงขึ้นกว่าก่อนอบ สำหรับชิ้นงานที่ไม่เจือดีบุกหลังอบจะมีค่าอยู่ในช่วง 12.0-25.0 W/m·K ซึ่งมีค่าสูงกว่าก่อนอบเช่นกัน ชิ้นงานที่เจือมี “ผลต่าง”ของสภาพนำความร้อนในช่วงอุณหภูมิทดลอง (50-300 °C) มากกว่าชิ้นที่ไม่ได้เจือ อัตราส่วนของผลต่างนี้หลังอบต่อก่อนอบ (ค่า R) ของชิ้นที่เจือจะมีค่ามากกว่าชิ้นที่ไม่เจือ การเพิ่มเวลาอบสำหรับการอบที่ 750 ºC จะทำให้ค่า R สูงขึ้น (ทั้งชิ้นที่เจือและไม่เจือ) ในขณะที่การเพิ่มเวลาอบสำหรับการอบที่ 860 ºC กลับทำให้ค่า R ต่ำลงในชิ้นที่เจือ (ไม่มีข้อมูลสำหรับชิ้นที่ไม่เจือเพราะไม่มีคู่เทียบ) |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The thermal conductivity of iron disilicide was measured by “Nano Flash” technique before and after annealing. There are 2 kinds of samples which are without and with 0.3% atom Sn. It was found that the temperature-dependent thermal conductivity of every piece have similar trends, which are (i)the thermal conductivity decreases with increasing temperature and (ii) the thermal conductivity of sample with Sn is greater than that without Sn. At 50 ºC, the thermal conductivities of samples with Sn are in the range of 17.0-21.0 W/m·K and without Sn in the range of 14.5-18.5 W/m·K. After annealing, the relationships between the thermal conductivity and temperature of every piece also have similar trends, which are (i) the thermal conductivity decreases with increasing temperature and (ii) the thermal conductivity of sample with Sn is still greater than that without Sn . At 50 ºC, the thermal conductivities of samples with Sn are in the range of 16.0-33.0 W/m·K which is higher than that before annealing, Samples without Sn have the thermal conductivity in the range of 12.0-25.0 W/m·K which is also higher than that before annealing. After annealing, samples with Sn showed higher change or “difference” in the thermal conductivity within the 50-300 ºC temperature range than that without Sn. The ratio of this differences between after-annealing to before-annealing (R) in Sn-added samples is greater than that of without-Sn samples. Increasing the annealing time at 750 ºC will increase the R value for both with and without Sn samples. Increasing the annealing time at 860 ºC, however, was found to decrease the R value for Sn-added sample but not enough information for comparison for without-Sn samples. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
วัสดุเทอร์โมอิเล็กทริก |
en_US |
dc.subject |
สารประกอบเหล็ก |
en_US |
dc.subject |
สารประกอบซิลิกอน |
en_US |
dc.subject |
Thermoelectric materials |
en_US |
dc.subject |
Iron compounds |
en_US |
dc.subject |
Silicon compounds |
en_US |
dc.title |
ผลของการอบอ่อนที่มีต่อสภาพนำความร้อนของสารไอรอนไดซิลิไซด์ (FeSi₂) ที่เจือด้วยดีบุก 0.3 เปอร์เซ็นต์อะตอม |
en_US |
dc.title.alternative |
The effects of thermal annealing on thermal conductivity of Iron disilicide with 0.3 % atom Sn |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |