Abstract:
Yarrowia lipolytica เป็นยีสต์ที่มีคุณสมบัติสามารถสะสมไขมันได้ภายในเซลล์ อย่างไรก็ตาม Y. lipolytica สายพันธุ์ YLNatXynA มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ไซลาเนส แต่พบว่ายังมีการ สะสมไขมันที่ต่ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการสะสมไขมันของยีสต์ Y. lipolytica สายพันธุ์ YLNatXynA โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อ ฉายรังสีเป็นเวลา 15 นาที พบว่ามียีสต์จำนวน 60 ไอโซเลท ที่มีอัตราการอยู่รอดในช่วงร้อยละ 5-10 จากนั้นทำการคัดเลือกยีสต์สายพันธุ์กลายบนอาหาร YPD ที่ผสม cerulenin เข้มข้น 2 ไมโครกรัมต่อ มิลลิลิตร และย้อมเซลล์ยีสต์ด้วยสี Sudan black B พบว่าไอโซเลท YLCe15_03 YLCe15_05 YLCe15_07 YLCe15_09 และ YLCe15_14 มีการสะสม oil droplet มากที่สุด ผลการวิเคราะห์ ปริมาณร้อยละไขมันที่สะสมพบว่า ยีสต์สายพันธุ์กลายไอโซเลท YLCe15_07 มีปริมาณร้อยละไขมันที่ สะสมสูงกว่าสายพันธุ์เดิม (ร้อยละ 25.53 ± 2.72 และ 20.14 ± 1.95 ตามลำดับ) แต่ไอโซเลท YLCe15_14 มีปริมาณไขมันที่สะสมร้อยละ 16.27 ± 0.79 ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ เดิม และพบว่า ไอโซเลท YLCe15_03 YLCe15_05 และ YLCe15_09 มีปริมาณร้อยละไขมันสะสมไม่ แตกต่างจากสายพันธุ์เดิม เมื่อวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันที่ผลิตจากยีสต์สายพันธุ์กลายไอโซเล ท YLCe15_07 และ YLCe15_14 พบว่าชนิดกรดไขมันไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับยีสต์สาย พันธุ์เดิม โดยประกอบด้วยกรดไขมันชนิดกรดปาล์มิติก กรดปาลมิโตเลอิก กรดสเตียริก กรดโอเลอิก และกรดไลโนเลอิก เมื่อวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน Acetyl Co-A Carboxylase1 ในไอโซเลท YLCe15_07 พบว่าไพรเมอร์ที่ใช้ในการทดลองไม่มีความจำเพาะต่อยีน ACC1 ทำให้ไม่สามารถ วิเคราะห์ลำดับเบสที่เปลี่ยนไปได้ อย่างไรก็ตาม ยีสต์มีแนวโน้มถูกนำไปใช้ในการผลิตพลังงานชีวภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว