DSpace Repository

การเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนสีรีแอคทีฟ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี
dc.contributor.author ธีระวัฒน์ ไวยะกา
dc.contributor.author ณัฐพล ชำนาญศิลป์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-01T03:22:39Z
dc.date.available 2022-06-01T03:22:39Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78687
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการกำจัดสีรีแอคทีฟเรด 120 ผ่านกระบวนการเร่งปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงซึ่งเป็นชนิดวิวิธพันธุ์ วิธีการนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ต้นทุนต่ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงแบบวิวิธพันธุ์ที่มีผลต่อการกำจัดสีรีแอคทีฟเรด 120 เพื่อลดปัญดาการปนเปื้อนของสีย้อมสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยทำการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา 7 ชนิด ได้แก่ ไทเทเนียมไดออกไซด์เกรดการค้า ไทเทเนียมไดออกไซด์หลังแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ไทเทเนียมไดออกไซด์จากวิธีการโซล-เจล และไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยเหล็ก 1, 4, 7, และ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-ray diffraction, XRD) พบว่า โครงสร้างผลึกของตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์เกรดการค้าและไทเทเนียมไดออกไซด์แคลไซน์เป็นแบบผสมระหว่างอนาเทสและรูไทล์ ส่วนไทเทเนียมไดออกไซด์ที่สังเคราะห์จากวิธีการโซล-เจลและไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยเหล็ก พบว่า โครงสร้างผลึกแบบ อนาเทสเท่านั้น และเมื่อศึกษาผลของการเจือเหล็กต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่า การเจือเหล็กในปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลให้การเกิดผลึกและขนาดผลึกของตัวเร่งปฏิกิริยาลดลง จากผลการทดลองความสามารถในการย่อยสลายสีย้อมรีแอคทีฟเรด 120 ที่ร้อยละ 50 พบว่า ไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยเหล็ก 10 เปอร์เซ็นต์ ให้ประสิทธิภาพในการย่อยสลายได้ดีที่สุดภายในระยะเวลา 37 นาที รองลงมาคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยเหล็ก 4 เปอร์เซ็นต์, ไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยเหล็ก 7 เปอร์เซ็นต์, ไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยเหล็ก 1เปอร์เซ็นต์, ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่สังเคราะห์จากวิธีการโซล-เจล, ไทเทเนียมไดออกไซด์แคลไซน์และไทเทเนียมไดออกไซด์เกรดการค้า ที่ระยะเวลา 45, 47, 54, 96, 100 และ 125 นาที ตามลำดับ ภายใต้แสงอาทิตย์ ที่สภาวะความเข้มข้นสีย้อมเริ่มต้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง 0.2 กรัมต่อสารละลายสีย้อม 10 มิลลิลิตร en_US
dc.description.abstractalternative In this research, the study on the removal of reactive red 120 through a photocatalyst in advance oxidation processes using a heterogeneous catalyst. Which is a method that provides high-efficiency, environment friendly, and low-cost. The purpose of this research was to study the types of catalysts that affected the removal of reactive red 120 to reduce the contamination problem of dyes to natural sources. Seven catalysts were prepared: commercial-grade titanium dioxide, commercial-grade titanium dioxide after calcining at 500 °C, titanium dioxide sol-gel, and iron-doped titanium dioxide (1, 4, 7, and 10 wt%) by the solgel method. After that, analyzing the structure using the XRD technique, the crystal structure of the commercial-grade titanium dioxide and commercial-grade titanium dioxide after calcining is mixed between anatase and rutile phase but titanium dioxide by sol-gel and iron-doped titanium dioxide was found only anatase phase. When studying the effect of amount iron doping on the change in catalyst structure, it was found that higher iron doping resulted in decreased crystallization and crystal size of the catalyst. The results of the degradation of reactive red 120 at 50 %, it was found that titanium dioxide doped with 10 wt% gave the best degradation efficiency within 37 minutes. And It was found that 4, 7, 1 wt% iron-doped titanium dioxide, titanium dioxide synthesized by sol-gel method, titanium dioxide calcine. And commercial grade titanium dioxide within 45, 47, 54, 96, 100, and 125 minutes respectively, under sunlight in the condition the initial dye concentration of 100 mg / L and the amount of catalyst 0.2 g per 10 ml of dye solution. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี en_US
dc.subject สีย้อมรีแอคทีฟ en_US
dc.subject Sewage -- Purification -- Color removal en_US
dc.subject Reactive dyes en_US
dc.title การเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนสีรีแอคทีฟ en_US
dc.title.alternative Solar photo-catalysis to treat the wastewater contaminated reactive dye en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record