DSpace Repository

การผลิตน้ำมันจากพอลิสไตรีนโดยไพโรไลซิสในเครื่องปฏิกรณ์แบบกึ่งกะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธราพงษ์ วิทิตศานต์
dc.contributor.author ณัฐชยา บุญเลิศ
dc.contributor.author เถกิงเกียรติ ทาฟู
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-01T08:47:14Z
dc.date.available 2022-06-01T08:47:14Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78695
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract บรรณจุภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เป็นพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ย่อมก่อให้เกิดปริมาณขยะพลาสติกมากขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดการกับขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น ในงานวิจัยนี้เป็นการเปลี่ยนขยะพลาสติกประเภทพอลิสไตรีนไปเป็นเชื้อเพลิงเหลวด้วยกระบวนการไพโรไลซิสเพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะพลาสติก โดยมีวัตถุประสงค์คือ หาสภาวะในการแตกตัวของพลาสติกโพลีสไตรีนให้ได้เชื้อเพลิงเหลวที่ให้ผลผลิตมากที่สุดด้วยการไพโรไลซิสในเครื่องปฏิกรณ์แบบกึ่งกะขนาด 3 ลิตร และวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีแบบจำลองการกลั่น (DGC) ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการทดลองอยู่ที่ 400, 420, 450 และ 500 องศาเซลเซียส และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาฟลูอิดคะตะไลติกแครกกิงที่ใช้แล้ว ปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาที่ยังไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาพบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจาก 420 เป็น 500 องศาเซลเซียส ร้อยละผลผลิตของเหลวเพิ่มขึ้นจาก 78.70 เป็น 92.23 โดยน้ำหนัก ร้อยละการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ของเหลว (แนฟทา) เพิ่มขึ้นจาก 75.40 เป็น 84.50 โดยน้ำหนัก และเมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่อุณหภูมิเดียวกัน ร้อยละผลผลิตของเหลวเพิ่มขึ้นจาก 73.58 เป็น 91.63 โดยน้ำหนัก ร้อยละการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ของเหลว (แนฟทา) เพิ่มขึ้นจาก 75.40 เป็น 84.00 โดยน้ำหนัก แสดงให้เห็นว่าสภาวะอุณหภูมิไพโรไลซิสที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตของเหลวและการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ของเหลวเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาจากการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเหลวพบว่า ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ได้ร้อยละผลผลิตของเหลวสูงสุดคือ 93.15 โดยน้ำหนัก และจากการวิเคราะห์ DGC พบว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันส่วนใหญ่ประกอบด้วยแนฟทา ซึ่งทำให้เหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เบนซิน หรือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี en_US
dc.description.abstractalternative On a daily basis, most individuals utilize plastic packaging in single-use manner which causes environmental problems. Additionally, increased plastic management is another contributing cause. This research paper is the study of the conversion of polystyrene plastic waste to liquid fuel by the pyrolysis process to add a generous amount of value to such waste. The objective of this study is to determine the rupture conditions of polystyrene plastics to obtain liquid fuel by pyrolysis in a 3-liter semi-batch reactor and analyze the composition using Distillation Gas Chromatography (DGC). The variables in this study are different the temperature of 400, 420, 450 and 500 degrees Celsius and the catalyst of this experiment is spent Fluid Catalytic Cracking 1 percent by weight. The results have shown that when the temperature increases from 420 to 500 degrees Celsius, the liquid yield percentage increases from 78.70 to 92.23 wt%, liquid products dispersion (Naphtha) increases from 75.40 to 84.50 wt% and when the catalyst is used in the same temperature the liquid yield increases from 73.58 to 91.63 wt%, liquid product dispersion (Naphtha) increases from 75.40 to 84.00 wt%, indicating the increase in temperature of the pyrolysis process. As a result, there is an increased liquid yield and increased dispersion of liquid products. The results of the quantitative and qualitative evaluation shown that, at 450 degrees Celsius and the use of the catalyst, highest liquid yield of 93.15 wt% was achieved, and according to the DGC analysis, most oil products consisted of Naphtha. Which makes it suitable to be used as a gasoline engine fuel or to used as a feedstock in the petrochemical industry. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ขยะพลาสติก en_US
dc.subject โพลิสไตรีน en_US
dc.subject เชื้อเพลิงเหลว en_US
dc.subject Plastic scrap en_US
dc.subject Polystyrene en_US
dc.subject Liquid fuels en_US
dc.title การผลิตน้ำมันจากพอลิสไตรีนโดยไพโรไลซิสในเครื่องปฏิกรณ์แบบกึ่งกะ en_US
dc.title.alternative Oil production from Polystyrene by pyrolysis in semi-batch reactor en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record