Abstract:
วัสดุทนไฟเป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถป้องกันการเสียหายของทรัพย์สินและอาคารก่อนที่จะช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากอัคคีภัยได้ มีการนำมาประยุกต์เป็นสารเคลือบผิวที่ใช้ในการปกป้องผิวเหล็กที่เป็นโครงสร้างของอาคารเพื่อลดหรือชะลอการเสื่อมของเหล็กเมื่อได้รับความร้อน งานวิจัยนี้เสนอการสร้างอนุภาคทนไฟแบบอินทูเมสเซนต์จาก แหล่งของคาร์บอน 2 ชนิดคือเซลลูโลส และ ไดเพนตะอิริธิออล โดยใช้ แอมโมเนียม โพลีฟอสเฟต เป็นแหล่งของกรด และ เมลามีนช่วยในการขยายตัว ด้วยวิธีการทำเม็ด โดยใช้เครื่อง pan coating และเครื่อง extrusion-spheronization และเตรียมสารเคลือบผิวอินทูเมสเซนต์โดยนำอนุภาคที่เตรียมได้มาผสมกับสารยึดติด โดยงานวิจัยนี้ทำศึกษาอัตราส่วนระหว่างสารตั้งต้น, ศึกษาผลของชนิดของสารยึดติด (binder) และ วิธีการทำเม็ดที่มีต่อสมบัติการทนไฟของอนุภาคอินทูเมสเซนต์ โดยทำการทดสอบคุณสมบัติการทนไฟของสารเคลือบผิวชนิดอินทูเมสเซนต์ด้วยเตาเผามาตรฐานที่ควบคุมอุณหภูมิตามมาตรฐาน ASTM E119 โดยผลการทดสอบพบว่าที่ความหนา 3000 ไมครอน อัตราส่วนอัตราส่วนที่เหมาะสมอนุภาคที่เตรียมได้จากเครื่อง Pan coatingมีอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ1:9:1มีค่าเวลาเฉลี่ยของการทนไฟเป็น 29.45 นาที ส่วนอนุภาคที่เตรียมด้วยเครื่อง Extrusion-Spheroization มีอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 1:6:1 มีค่าเวลาเฉลี่ยของการทนไฟเป็น 30.12 นาที โดยทั้ง 2 วิธี ใช้สารยึดติดชนิดสไตรีน อะคริลิค(core shell) ซึ่งเป็นสารยึดติดที่ให้ผลในการทนไฟดีที่สุดและเมื่อทำการทดลองเปลี่ยน แหล่งของคาร์บอน จาก เซลลูโลส เป็น ไดเพนตะอิริทิคออล พบว่าอนุภาคที่เตรียมได้จากเครื่อง Pan coating1:9:1มีค่าการทนไฟเพิ่มขึ้นเป็น 31.57 นาที ส่วนอนุภาคที่เตรียมด้วยเครื่อง Extrusion-Spheroization 1:6:1 มีค่าการทนไฟเพิ่มขึ้นเป็น 36.24 นาที