Abstract:
โครงการวิจัยเรื่อง “การประมาณค่าความหนาแน่นของ PM 2.5 ด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง” มีวัตถุประสงค์ คือ กำหนดปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด PM 2.5 และ พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่พิจารณากับปริมาณ PM 2.5 ที่วัดได้ จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเพื่อให้ทราบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ PM 2.5 ที่ทำให้ระดับความอันตรายของ PM 2.5 มีค่าสูง หรือต่ำ ขอบเขตการวิจัยภายใต้ข้อมูลเชิงประวัติของค่า PM 2.5 ที่จะนำมาพิจารณาจะอยู่ในช่วงปีพุทธศักราช 2563 เท่านั้น และแหล่งข้อมูลที่ใช้ คือ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ Thai Meteorlogical Department เว็บไซต์ Air Quality Historial Data Platform และ Google Earth วิธีการวิจัยซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูล PM 2.5 เพื่อนำมาหาโมเดลการคาดคะเนที่ดีที่สุดของปริมาณความเป็นมลพิษของ PM 2.5 ด้วยโปรแกรม RapidMiner Studio ผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อ PM 2.5 ทางสนับสนุน หรือทำให้ระดับความอันตรายสูงขึ้น คือ จำนวนประชากรหญิงของจังหวัด ปริมาณหยาดน้ำฟ้า จำนวนประชากรหญิงของอำเภอ ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลและความสูงจากระดับน้ำทะเล ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในทางตรงข้าม หรือ ทำให้ค่าความอันตรายลดลงคือ จำนวนประชากรรวมของอำเภอ จำนวนประชากรชายของอำเภอ ฤดูกาล อุณหภูมิ และความชื้น