Abstract:
สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (biosurfactants) ที่ผลิตขึ้นจากจุลินทรีย์จัดว่ามีความปลอดภัย ย่อยสลายทาง ชีวภาพได้ มีความเป็นพิษต่ำ และมีประสิทธิภาพภายใต้พีเอชและอุณหภูมิที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามการผลิตสาร ลดแรงตึงผิวชีวภาพยังมีข้อจำกัดด้านต้นทุนการผลิตที่สูง งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะนำน้ำมะพร้าวที่เป็นผล พลอยได้จากอุตสาหกรรมผลิตกะทิมาใช้ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากยีสต์ Meyerozyma guilliermondii สายพันธุ์ CCN-6 แบบเซลล์ตรึง ซึ่งทำให้ไม่เสียเวลาในการเตรียมเชื้อ และสามารถเพิ่มผลผลิตสารลดแรงตึงผิว ชีวภาพได้ โดยในเบื้องต้นงานวิจัยนี้ใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ Bushnell Haas (BH) ที่มีกลูโคสร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อ ปริมาตร พบว่า ระยะเวลา 5 วัน มีความเหมาะสมสำหรับการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ โดยมีผลผลิตสารลด แรงตึงผิวชีวภาพสูงสุดที่ 0.71 กรัมต่อลิตร และการเติมน้ำมันถั่วเหลือง และกลูโคส ทำให้ผลผลิตสารลดแรงตึงผิว ชีวภาพเพิ่มขึ้นเป็น 2.73 กรัมต่อลิตร ต่อมาได้คัดเลือกสูตรอาหารที่มีน้ำมะพร้าวเป็นองค์ประกอบหลัก โดย เปรียบเทียบอาหารสูตรต่างๆ คือ น้ำมะพร้าวอย่างเดียว น้ำมะพร้าวที่เติมน้ำมันถั่วเหลืองร้อยละ 2 โดยปริมาตร ต่อปริมาตร และน้ำมะพร้าวที่เติมกลีเซอรอลร้อยละ 10 โดยปริมาตรต่อปริมาตร พบว่า ชุดทดลองที่ใช้น้ำมะพร้าว ที่เติมน้ำมันถั่วเหลืองมีประสิทธิภาพเหมาะแก่การนำมาผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมากที่สุด โดยผลิตสารลดแรง ตึงผิวภาพได้ 2.03 กรัมต่อลิตร และเมื่อทำการผลิต 2 รอบ มีปริมาณสารลดแรงตึงผิวชีวภาพรวมสูงสุดเป็น 4.35 กรัมต่อลิตร แสดงว่า M. guilliermondii สามารถใช้องค์ประกอบภายในน้ำมะพร้าว และน้ำมันถั่วเหลืองเป็น แหล่งคาร์บอนในการเจริญและผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพนี้มีประสิทธิภาพในการ กระจายคราบน้ำมันดิบชนิด BKC และ ARL เป็นร้อยละ 72 และร้อยละ 26 ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้พบว่า ประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก M. guilliermondii จะน้อยกว่าสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ Triton X-100 ที่ความเข้มข้น 1.5 กรัมต่อลิตร เท่ากัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดแรงตึงผิว ควรผสมสารลด แรงตึงผิวชีวภาพชนิดนี้กับสารลดแรงตึงผิวชีวภาพชนิดอื่น นอกจากนี้ควรศึกษาโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว ชีวภาพ เพื่อประโยชน์สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ต่อไป