Abstract:
พลาติกชีวภาพ ประกอบด้วยวัตถุดิบที่ผลิตจากแหล่งชีวมวล ซึ่งสามารถหมุนเวียนได้ โดยพลาสติก ชีวภาพนั้นมีคุณสมบัติเด่นคือ มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ และสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพภายใต้สภาวะที่ เหมาะสม โดยทุกวันนี้พลาสติกชีวภาพถูกนำมาใช้ทดแทนพลาสติกปิโตรเคมีกันแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งด้วย เหตุผลที่กล่าวข้างต้นทำให้การย่อยสลายพลาสติกชีวภาพอาจกลายเป็นปัญหาได้ในอนาคต ดังนั้นการรีไซเคิล ชีวภาพโดยการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพที่การใช้งานอย่างแพร่หลาย ได้แก่ โคพอลิเมอร์ของ poly(3- hydroxybutyrate-co-3-hydroxyvalerate), พอลิแลคติกแอซิด และเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชด้วยแบคทีเรียที่มี ความสามารถในการผลิต PHAs เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในจัดการขยะพลาสติกชีวภาพ งานวิจัยนี้วิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการรีไซเคิลชีวภาพโดยการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพด้วยเชื้อ Cupriavidus necator strain A-04, เชื้อ Burkholderia contaminans SCN-KJ ซึ่ งคั ด แยก โน น างส าวก น ก จัน ท ร์ ใจบุญ แล ะ เชื้อ Burkholderia gladioli A7 ที่คัดแยกโดยนายศิริราชย์ นันทะชัย ซึ่งเป็นแบคที่เรียที่สามารถผลิต PHAs ได้ จาก ผลการทดสอบการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพในระดับขวดเขย่าพบว่า ในการเลี้ยงเชื้อทั้งสามสายพันธุ์โดยพลาสติก ชีวภาพชนิด PLA เป็นแหล่งคาร์บอนมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียมวลของพลาสติกสูงที่สุดที่ 11% ด้วยเชื้อ B. gladioli A7 และในการเลี้ยงเชื้อด้วยพลาสติกชนิด TPS ที่ 4% ด้วยเชื้อ B. gladioli A7 อย่างไรก็ตามไม่พบการ ผลิต PHAs จากผลิตภัณฑ์จากการย่อยสลายในทั้งสามสายพันธุ์ที่ทดสอบ จึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาวะเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพและผลิต PHAs พร้อมกัน