Abstract:
ในปัจจุบันผู้บริโภคตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เนื่องจากการได้รับรังสียูวีเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายสร้างสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คอลลาเจนในชั้นผิวหนังถูกทำลายและมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่ง Mycosporine like amino acid (MAAs) เป็นสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่มีคุณสมบัติคัดกรองรังสียูวีและเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ มีความสามารถในการดูดซับรังสียูวีในช่วงความยาวคลื่น 310-365 nm. MAAs สามารถ สังเคราะห์ได้จากสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด โดยชนิดของ MAAs ที่พบบ่อยที่สุดคือ Shinorine และ Porphyra-334 แต่ MAAs ที่พบมากที่สุดใน halotolerant microorganism คือ Mycosporine-2-Glycine (M2G) ซึ่งพบว่า M2G มีศักยภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า MAAs ชนิดอื่น สำหรับไซยาโนแบคทีเรียที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ Halothece sp. PCC7418 ซึ่งเป็นเอ็กซ์ทรีโมไฟล์ที่คัดแยกได้จากทะเล เดดซี (Dead sea) สามารถดำรงอยู่ในสภาวะที่มีความเข้มข้นเกลือสูง (Salt stress) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะเครียดที่เหนี่ยวนำให้เกิดการสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) ขึ้นมา จนเกิดเป็น Oxidative stress ได้นำไปสู่การเพิ่มการสะสม M2G ได้ เนื่องจาก M2G สามารถทำหน้าที่เป็น Osmoprotectant ได้ดีพอกัน กับการทำหน้าที่เป็น Photoprotectant ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของค่าพีเอชในอาหารเลี้ยง เชื้อต่อการผลิต M2G ในไซยาโนแบคทีเรียทนเค็ม Halothece sp. PCC7418 ภายใต้สภาวะเครียดจากกรดและด่าง ผลการทดลองพบว่าสาร M2G ที่สกัดได้มีปริมาณมากที่สุดเมื่อถูกเหนี่ยวนำภายใต้สภาวะเครียดที่ pH9 แสดงให้เห็นว่านอกจาก M2G จะมีคุณสมบัติเป็นสารคัดกรองรังสียูวีและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังสามารถช่วยรักษาสมดุลภายในเซลล์ของ halotolerant microorganism เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ทั้งนี้จากผลการทดลองมีศักยภาพในการใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดสำหรับการผลิต สาร M2G ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการผลิตปริมาณมากรวมทั้งการใช้เป็นองค์ประกอบในเวชสำอางต่อไป