DSpace Repository

ผลต่อระบบสืบพันธุ์ของไมโครพลาสติกชนิด polystyrene ในหอยแมลงภู่ Perna viridis

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพดล กิตนะ
dc.contributor.advisor จิรารัช กิตนะ
dc.contributor.advisor ธงชัย ฐิติภูรี
dc.contributor.author สุรภา ฉินพลิกานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-20T07:52:58Z
dc.date.available 2022-06-20T07:52:58Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78882
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract ขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน สามารถย่อยสลายหรือแตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร หรือไมโครพลาสติกจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยมีการรายงานว่าไมโครพลาสติก polystyrene (PS) ที่อยู่ในสภาวะของทางเดินอาหารจำลองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจะมีการปลดปล่อยสาร diethylhexyl phthalate ที่ออกฤทธิ์รบกวนระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ ซึ่งในบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยมีรายงานการปนเปื้อนไมโครพลาสติกชนิด polystyrene ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบของ polystyrene ต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้หอยแมลงภู่ Perna viridis ซึ่งเป็นหอยสองฝาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และมีโอกาสได้รับไมโครพลาสติกผ่านการกรองกิน นำมาเลี้ยงในภาวะที่มีไมโครพลาสติกชนิด polystyrene แล้วตรวจสอบการสะสมและผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ โดยนำหอยแมลงภู่จากแหล่งเพาะเลี้ยงใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มาเลี้ยงปรับสภาพที่สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ก่อนทดลองเลี้ยงในสภาวะที่มีเม็ด polystyrene ขนาด 0.6 - 1.0 มิลลิเมตร ที่ความเข้มข้น 0, 2 และ 20 mg/L เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วนำมาตรวจสอบการสะสมไมโครพลาสติกในทางเดินอาหาร โดยย่อยเนื้อเยื่อด้วยสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 10% แล้วนำสารแขวนลอยมาตรวจสอบปริมาณไมโคร พลาสติกภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ ผลการศึกษาไม่พบเม็ด polystyrene ขนาด 0.6 - 1.0 มิลลิเมตรในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่ แต่พบไมโครพลาสติกชนิดอื่นที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งคาดว่ามีการสะสมอยู่ในหอยก่อนการทดลอง แสดงให้เห็นแนวโน้มว่าเม็ด PS ที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.6 มิลลิเมตร ไม่สามารถเข้าไปสะสมในตัวหอยแมลงภู่ได้ และเมื่อนำอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาเตรียมสไลดเนื้อเยื่อด้วยวิธี paraffin method ย้อมสี hematoxylin และ eosin นำมาตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พบว่าตัวอย่างทั้งหมดอยู่ในระยะที่ยังไม่มีการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์ ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบผลของไมโครพลาสติกต่อระบบสืบพันธุ์ของหอยแมลงภู่ต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Plastic debris can be degraded into countless fragments smaller than 5 mm or microplastics that can be harmful to marine organisms. Previous report showed that exposing polystyrene (PS) to gut conditions of invertebrates could result in the release of endocrine-disrupting chemicals such as diethylhexyl phthalate that can affect endocrine and reproductive systems of animals. Polystyrene microplastic contamination was also reported in coastal marine invertebrates in the Gulf of Thailand. However, there is still a lack of study on reproductive effect of polystyrene microplastic in invertebrates in Thailand. In this study, green mussel Perna viridis, an important economic bivalve that could ingest microplastics through filter feeding, has been selected as an animal model for studying polystyrene microplastic exposure, accumulation and potential reproductive effect. Green mussels from farm in Sri Racha District, Chonburi Province were transported and acclimatized at Sichang Marine Science Research and Training Station (SMaRT), Chonburi Province. Mussels were exposed to polystyrene microplastics with diameter of 0.6 – 1.0 mm at 0, 2 and 20 mg/L concentration for 2 weeks. Microplastic accumulations in digestive tract, adductor muscle, and gill and mantle were evaluated by digesting tissue in 10% potassium hydroxide then observing for microplastics in suspension under a stereomicroscope. The results showed that there was no accumulation of polystyrene microplastics in green mussel tissue. However, other type of smaller microplastics were found, probably due to prior accumulation before the experiment. The result suggests that PS microplastics with the diameter larger than 0.6 millimeter cannot be accumulated in green mussel. Gonad tissue is processed with paraffin method and stained with hematoxylin and eosin for observation under compound light microscope. The results show that all green mussels are in resting stage. The findings from this study could be used as a guideline for designing further experiment for assessing reproductive effect of microplastics in green mussel. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject หอยแมลงภู่ -- การปนเปื้อน en_US
dc.subject ขยะพลาสติก en_US
dc.subject ไมโครพลาสติก en_US
dc.subject Mussels -- Contamination en_US
dc.subject Plastic scrap en_US
dc.subject Microplastics en_US
dc.title ผลต่อระบบสืบพันธุ์ของไมโครพลาสติกชนิด polystyrene ในหอยแมลงภู่ Perna viridis en_US
dc.title.alternative Reproductive effect of polystyrene microplastic in green mussel Perna viridis en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record