Abstract:
ผึ้งจัดเป็นแมลงสังคมที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้พบว่ามีโรคในผึ้งเป็นจำนวนมาก ในโครงงานนี้เลือกศึกษาผึ้งหลวง (A. dorsata) เนื่องจากเป็นผึ้งที่แข็งแรง จึงสนใจว่าจะมีโรคมาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงไร แต่เปลี่ยนมาสนใจโรค American foulbrood disease (AFB) แทนโรค European FB (EFB) เนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก เกิดจากแบคทีเรีย Paenibacillus larvae ที่สร้างสปอร์ได้และมีการแพร่ระบาดในผึ้งหลายชนิดทั่วโลก และเลือกศึกษาไรปรสิตภายนอกเนื่องจากมีรายงานจำนวนมากรายงานว่าสามารถเป็นพาหะนำโรคของผึ้งได้ จึงทำการเก็บตัวอย่างผึ้งหลวงจำนวน 3 รังจากจังหวัดสมุทรสงครามในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แล้วทำการสำรวจไรปรสิตภายนอกที่เกาะผึ้งหลวงในระยะต่าง ๆ พร้อมทั้งสังเกตบริเวณที่ตัวผึ้งที่ไรปรสิตภายนอกเกาะอยู่ด้วย stereo microscope และ compound microscope, ผลพบว่าจากผึ้งหลวงตัวเต็มวัย 150 ตัว (50 ตัว/รัง) ไม่พบว่ามีไรปรสิตภายนอกเลย แต่พบไรขนาดเล็กซึ่งพบที่บริเวณปล้องอกของผึ้งตัวเต็มวัย โดยเฉพาะบริเวณขาคู่ที่ 3 จากลักษณะทางสัณฐานโดย scanning electron microscope พบว่าไรที่พบเป็น phoretic mite, ส่วนร้อยละของผึ้งตัวเต็มวัยที่มีไรเกาะ (prevalence) จากรังที่ 1, รังที่ 2 และรังที่ 3 เท่ากับ 32%, 20% และ 30% ตามลำดับ แต่ไม่พบไรใด ๆ ในผึ้งระยะไข่ ตัวอ่อน และดักแด้เลย ต่อมาจึงทำค้นหาความเป็นพาหะนำโรค AFB ของ phoretic mites ด้วยวิธี multiplex PCR, จึงนำ phoretic mites พร้อมขาผึ้งที่มีไรเกาะไปสกัด DNA ด้วย DNA extraction mini kit (cat. # 51304, QIAgen), เตรียมปฎิกิริยา PCR ในปริมาตรสุดท้าย 25 μL ที่ประกอบด้วย 12.5 μL Emerald Amp GT PCR master mix (cat. # RR310Q, Takara), 5 μL DNA (100 ng), 1 μL ของแต่ละ primer (10 μM) และ d-H₂O, มีภาวะการทางานที่เริ่มต้นด้วย 94 °C เป็นเวลา 1 min ตามด้วย 35 รอบของ 94 °C เป็นเวลา 1 min, 45 °C เป็นเวลา 1 min และ 64 °C เป็นเวลา 2 min, และสุดท้ายที่ 72 °C เป็นเวลา 7 min สังเกต PCR products ด้วย 0.8% (w/v) agarose gel electrophoresis, ทั้งนี้จาก primers 2 คู่ที่เลือกใช้, primer คู่แรก มีความจำเพาะกับ 16S rRNA ของ P. larvae คาดหวัง PCR product ขนาด 700 bp และ primer คู่ที่ 2 ที่เป็นชุดควบคุม มีความจำเพาะกับ cytochrome b ของผึ้งในสกุล Apis คาดหวัง PCR product ขนาด 500 bp, ผลพบว่าใน phoretic mites มี PCR products ของ P. larvae, จึงทำการยืนยันผลด้วยการนำ PCR products ที่ได้ส่งไปหาลำดับนิวคลีโอไทด์ ดังนั้นผลจากการศึกษานี้อาจถูกนำไปใช้ในแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง phoretic mites, แบคทีเรียและผึ้ง รวมทั้งแนวทางการควบคุมโรคดังกล่าวในอนาคต