Abstract:
โรคเมล็ดด่าง (dirty panicle disease) ในข้าวส่งผลทำให้ผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งมี สาเหตุจากราหลายชนิด วิธีควบคุมโรคเมล็ดด่างในข้าวด้วยสารเคมีส่งผลกระทบต่อร่างกายและ สิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการทางชีวภาพโดยใช้แอนตะโกนิสติก แบคทีเรียที่ไม่ก่อโรค ส่งเสริมการเจริญของพืช และยับยั้งราก่อโรคได้ โดยงานวิจัยประกอบด้วยการคัด แยกราก่อโรค, การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งรา และสมบัติในการส่งเสริมการเจริญของพืชโดย แบคทีเรีย จากการคัดแยกราก่อโรคจากตัวอย่างเมล็ดข้าวที่เป็นโรคเมล็ดด่าง แล้วนำมาตรวจสอบ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่าเป็น Curvularia lunata ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมล็ด ด่าง การทดสอบการยับยั้งโดยเทคนิคเลี้ยงแบคทีเรียร่วมกับราบนอาหารแข็ง พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 MSCU 0242 สามารถยับยั้ง C. lunata ได้ดีที่สุด โดยสามารถยับยั้งได้ 66.67% การทดสอบการ ยับยั้งราด้วยเมแทบอไลต์ที่หลั่งออกนอกเซลล์แบคทีเรียและการยับยั้งราด้วยสารระเหยของแบคทีเรีย พบว่าแบคทีเรีย M25 MSCU 0242 สามารถยับยั้ง C. lunata ได้ 100% และ 52.94% ตามลำดับ การ ยับยั้งราด้วยไฮโดรไลซิสเอนไซม์ของแบคทีเรีย พบว่าแบคทีเรีย M25 MSCU 0242 สามารถผลิตไลเปส และโปรตีเอสได้ แต่ผลิตเซลลูเลสไม่ได้ การทดสอบสมบัติการส่งเสริมการเจริญของพืช พบว่าแบคทีเรีย M25 MSCU 0242 มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน แต่ไม่ผลิต Indole-3-Acetic Acid (IAA) และไม่ มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรคเมล็ดด่างในข้าว พบว่า แบคทีเรีย M25 MSCU 0242 มีความสามารถในการรักษา ป้องกัน และยับยั้งโรคเมล็ดด่างในข้าว ได้ ดังนั้นแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 MSCU 0242 จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นเชื้อควบคุมทางชีวภาพเพื่อ ยับยั้งการเกิดโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก C. lunata และช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับข้าวได้