dc.contributor.author |
ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-22T03:57:53Z |
|
dc.date.available |
2022-06-22T03:57:53Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78901 |
|
dc.description |
การรู้หนังสือ -- พัฒนาการด้านการรู้หนังสือของนักเรียนระดับประถมศึกษา -- การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือ |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือของ เด็กระดับประถมศึกษา โดยการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์เอกสารและ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือของ นักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้ ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือของนักเรียนระดับประถมศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาและด้านการรู้หนังสือรวม 11 คน ระยะที่ 2 การพัฒนา รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สง่ เสริมการรู้หนังสือของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 2 นี้ ประกอบด้วยครูระดับประถมศึกษาจำนวน 1,058 คน และระยะที่ 3 การนำเสนอรูปแบบ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 3 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาและด้านการรู้หนังสือจำนวน 9 คนผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมสำคัญ 4 องค์ประกอบ มีรายละเอียดขององค์ประกอบแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้ 1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ การจัดสถานที่ทางกายภาพ การออกแบบพื้นที่การใช้งาน วัสดุอุปกรณ์ ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีส่วนช่วยอำนวยความ สะดวกและส่งเสริมการรู้หนังสือของเด็กประถมศึกษา ประกอบด้วย สื่อการ อ่าน - เขียน วัสดุ อุปกรณ์สถานที่ ฯลฯ ได้แก่การจัดพื้นที่ส่วนกลาง ศูนย์การอ่าน และศูนย์การเขียน 2. สภาพแวดล้อมทางสังคม เป็นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบทบาทครู บทบาทนักเรียน การ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับสื่อวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการ สร้างเสริมประสบการณ์การรู้หนังสือของนักเรียนระดับประถมศึกษา 3. สภาพแวดล้อมทางปัญญา เป็นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาสติปัญญา ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านเขียน ส่งเสริมการรู้หนังสือ กิจกรรมมีทั้งลักษณะที่เป็นกิจกรรมรายบุคคล/กลุ่ม กิจกรรมในรายวิชา/กิจกรรมเสริม 4. สภาพแวดล้อมทางอารมณ์ เป็นสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมความพร้อมทางด้านอารมณ์ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญให้นักเรียนเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ที่จะอ่านเขียน ประกอบด้วย บรรยากาศการเรียนรู้เชิง บวก การคำนึงถึงภูมิหลังและอัตลักษณ์ของผู้เรียนรายบุคคล โดยสภาพแวดล้อมทางอารมณ์ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The research objective of this research was to propose the model of literacy- rich environment or enhancing literacy skill of elementary students. The 3 phases or research conduction were; Phase 1: Synthesizing documents and study specialists' opinion about model of literacy- rich environment for enhancing literacy skill of elementary students. The research sample in this phase were related documents and 11 specialists in elementary education and literacy. Phase II: Developing the model of literacy- rich environment for enhancing literacy skill of elementary students. Research sample in this phase were 1,058 elementary teachers. Phase III: Proposing the model of literacy-rich environment for enhancing literacy skill of elementary students. Research sample were 9 specialists in elementary education and literacy skill development. The research results revealed that the model of literacy- rich environment for enhancing literacy skill of elementary students consisted of 4 components 1. Physical environment related to literacy materials, media, seating arrangement and setting that facilitated and supported literacy skill development of elementary students, consisted of shared space, reading center, and writing center. 2. Social environment was an environment where social interactions between students and students, and/or students and teachers occurred. 3. Cognitive environment related to activities that enhanced students' learning, developed students' cognition. The activities that supported cognitive skill were also individual literacy activities, small group activities, and whole class activities. 4. Emotional environment supported students' emotion that was the basic for learning to read and write consisted of positive learning environment, recognized and valued students' background and identity. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ทุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2560 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การรู้หนังสือ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
การศึกษาขั้นประถม -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
สภาพแวดล้อมทางการเรียน |
en_US |
dc.title |
รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้หนังสือของนักเรียนระดับประถมศึกษา |
en_US |
dc.title.alternative |
A model of literacy rich classroom environment for elementary students |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |