Abstract:
จังหวัดกาญจนบุรีประกอบไปด้วย หินตะกอน หินแปร และตะกอนหลากหลายชนิด ซึ่งสะสมตัวตั้งแต่ ยุคพรีแคมเบรียนจนถึงยุคควอเทอร์นารี เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นจุลทวีปฉานไทย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีป กอนด์วานา โดยหินยุคพรีแคมเบรียนในประเทศไทยมีการระจายตัวอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา เช่น เขาชนไก่ เขาดิน เขาเสือ โดยเขาเม็งก็ตั้งอยู่ในแนวหินพรีแคมเบรียนนี้เช่นเดียวกัน โครงการนี้จึงมุ่งศึกษาธรณีวิทยาบริเวณ เข้าเม็ง และทำการสำรวจภาคสนาม เก็บข้อมูลและตัวอย่างหินมาจากจุกศึกษาที่อยู่ในบริเวณเขาเม็งทั้งหมด 3 จุด โดยจุดที่ 1 และ 2 ที่อยู่ตอนบนของเขามีลักษณะคล้ายกันมาก จากการศึกษาลักษณะภายนอกและแผ่นหินบาง พบว่าเป็นหินควอตซ์ไซต์ มีการเรียงตัวของเม็ดแร่ในแนว ตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ และลักษณะ การเชื่อมกันแบบ triple junction บ่งบอกการถูกแปรสภาพ ส่วนจุดศึกษาที่ 3 อยู่ตอนล่างของเขาพบเป็นหินไนส์ ที่มีผลึกดอกเป็นเฟลด์สปาร์ ทั้ง 3 จุดพบลักษณะโครงสร้างเชิงเส้นในแนว ตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งบ่งบอกถึงทิศทางความเค้นหลักในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ สอดคล้องกับเหตุการณ์การ ก่อเทือกเขาอินโดซิเนียนที่แผ่นจุลทวีปฉานไทยและอินโดจีนชนกันในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก รวมไปถึงอาจเกิด จากการเฉือนการในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้จากเหตุการณ์การก่อเทือกเขาหิมาลัยที่แผ่น อินเดียชนกับแผ่นยูเรเซีย โดยหินต้นกำเนิดเป็นหินทรายและหินแกรนิตตามลำดับ ที่มีการสะสมตัวกันอยู่ก่อนแล้ว และผ่านกระบวนการความร้อนและความดันเรื่อยมาจนถูกแปรสภาพ