Abstract:
ปริมาณน้ำฝน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในทางอุตุนิยมวิทยา โดยหากมีปริมาณน้ำฝนที่ มากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยตามมาได้ โครงงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ กระจายตัวเชิงพื้นที่ของปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและเตรียมตัว รับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝน กับจำนวนหรืออัตราการเกิดปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านสมการการกระจายตัวเชิงความถี่และ ขนาดของเหตุการณ์ (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า สมการกู เต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) ซึ่งสามารถวิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ ของค่า a และค่า b ได้ โดยบริเวณที่มีค่า a ต่ำ บ่งบอกได้ว่ามีอัตราการเกิดโดยรวมของปริมาณน้ำฝน ต่ำ และบริเวณที่มีค่า b ต่ำ บ่งบอกได้ว่ามีโอกาสเกิดความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝนสูงมากกว่าความ เข้มข้นของปริมาณน้ำฝนเบา ซึ่งสามารถน้ำไปวิเคราะห์หา (1) ความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณน้ำฝน (2) คาบอุบัติซ้ำ และ (3) โอกาสในการเกิดปริมาณน้ำฝนต่อไป โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของ ปริมาณน้ำฝน ได้แก่ ลมมรสุม พายุหมุนเขตร้อน และการวางตัวของเทือกเขา โดยความเข้มข้นของ ปริมาณน้ำฝนที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีคาบอุบัติซ้ำในการเกิดมากขึ้น และบริเวณที่มีคาบอุบัติซ้ำต่ำ แสดงถึง มีอัตราการเกิดปริมาณน้ำฝนสูง และปริมาณน้ำฝนที่ความเข้มข้นต่ำนั้น จะมีโอกาสเกิดปริมาณน้ำฝน เกือบ 100% ในขณะที่ความเข้มข้นสูงมีโอกาสเกิดปริมาณน้ำฝนแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ และปัจจัยดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ ยังได้ทำการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝน (มิลลิเมตร) และเวลา (ปี) ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่า ปริมาณน้ำฝนมีการผันแปรตามฤดูกาล (Seasonal Variation) โดยบริเวณที่มีความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝนสูง ได้แก่ ภาคตะวันออก แถบตะวันออกสุด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้เกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดระนอง และจังหวัด พังงา ในขณะที่บริเวณที่มีความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝนต่ำ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และฝั่งตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ