dc.contributor.advisor |
กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์ |
|
dc.contributor.author |
มนัสชนก โคตรพันธ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-24T06:51:51Z |
|
dc.date.available |
2022-06-24T06:51:51Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78952 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงแดงชนิดไม่สะสมกำมะถัน (Purple non-sulfur bacteria; PNSB) เป็นแบคทีเรียที่มีเมตาบอลิซึมที่หลากหลาย ในภาวะโฟโตเฮเทอโรโทรป PNSB สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีเพื่อการเจริญได้ การเพาะเลี้ยง PNSB ในห้องปฏิบัติการนิยมใช้หลอดไส้เป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งในปัจจุบันหลอดไส้ได้ถูกห้ามผลิตและหาซื้อได้ยากในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย เนื่องจากความไม่มีประสิทธิภาพเชิงพลังงาน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของหลอด คอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์และหลอดไส้ ในการเป็นแหล่งพลังงานแสงเพื่อการเจริญของ Rhodopseudomonas palustris สายพันธุ์ AS85 โดยเพาะเลี้ยงภายใต้ภาวะโฟโตเฮเทอโรโทรป ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว RCVB ที่ความเข้มแสง 2000 lux เก็บตัวอย่างเพื่อหาแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์และน้ำหนักเซลล์แห้ง ผลการทดลองแสดงการเจริญสูงสุดของ AS85 เมื่อเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอดไส้เป็นเวลา 3 วัน โดยให้ค่า OD₆₆₀ สูงสุดอยู่ที่ 2.241±0.04 ในขณะที่หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ชนิดวอร์มไวท์และเดย์ไลท์ทำให้เกิดการเจริญของ AS85 ที่ช้ากว่า และพบว่าแหล่งกำเนิดแสงที่ต่างกันไม่ทำให้ปริมาณ แบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ทั้งหมดต่อเซลล์ต่างกัน แต่ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดต่อเซลล์ต่างกัน แหล่งกำเนิดแสงที่ทำให้เกิดการผลิตแคโรทีนอยด์ทั้งหมดต่อเซลล์สูงสุด คือ หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ชนิดวอร์มไวท์ สรุปได้ว่าหลอดไส้ยังเหมาะสมที่สุดสำหรับการเลี้ยง R. palustris AS85 แบบโฟโตเฮเทอโรโทรป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Purple non-sulfur bacteria (PNSB) are bacteria that exhibit an extremely versatile metabolism. Under Photoheterotrophic growth PNSB convert light to chemical energy for growth. Culturing PNSB in laboratory, incandescent lamp has been traditionally used as light source. Nowadays, this kind of light bulb was banned for production and less available in many countries including Thailand because of their energy-inefficiency. Therefore, the objective of this study was to compare the capability of compact fluorescent lamp and incandescent lamp as light sources for growth of Rhodopseudomonas palustris AS85. PNSB have been photoheterotrophic cultured in RCVB medium under light intensity of 2000 lux. Samples were collected for bacteriochlorophyll and carotenoid as well as dry weight estimation. The results revealed that the highest growth of AS85 could be found after 3-day illumination under an incandescent lamp as shown by OD₆₆₀ of 2.241±0.04 whereas the compact fluorescent lamps, warm white and day light, induced slower growth of AS85. The different light source did not change the total bacteriochlorophyll per cells. Total carotenoid per cells was found higher after phototrophic growth under compact fluorescent lamps, warm white. We concluded that incandescent lamps are still most suitable for photoheterotrophic cultivation of R. palustris AS85. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
แบคทีเรียสังเคราะห์แสง |
en_US |
dc.subject |
วิทยาแบคทีเรีย|xการเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อวิทยาแบคทีเรีย -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ |
en_US |
dc.subject |
Photosynthetic bacteria |
en_US |
dc.subject |
Bacteriology -- Cultures and culture media |
en_US |
dc.title |
ผลของแหล่งกำเนิดแสงและความเข้มแสงต่อการเจริญและการผลิตรงควัตถุของแบคทีเรียสังเคราะห์แสง Rhodopseudomonas palustris AS85 |
en_US |
dc.title.alternative |
Effect of light source and light intensity on growth and pigments production of photosynthetic bacteria Rhodopseudomonas palustris AS85 |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |