Abstract:
โรคตาโปนจากไทรอยด์ (Graves’ ophthalmopathy; GO) เป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเองชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากออโตแอนติบอดีไปกระตุ้นการทำงานของ Thyroid-stimulating hormone receptor (TSHR) บนผิวเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา ส่งผลให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวน การผลิต hyaluronan และการเกิดกระบวนการ adipogenesis นอกจากนี้ยังพบ Insulin-like growth factor 1 (IGF-1) ในปริมาณมากใน serum ของผู้ป่วย โดยจับอย่างจำเพาะกับ IGF-1 receptor (IGF-1R) ที่แสดงออกบนเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา งานวิจัยนี้ศึกษาบทบาทของเอนไซม์ Histone methyltransferase ต่อการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาที่ถูกกระตุ้นด้วย IGF-1 โดยเมื่อทำการทดลองกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาที่ได้รับจากผู้ป่วยโรคตาโปนจากไทรอยด์ 3 คนด้วย IGF-1 (100ng/ml) เป็นระยะเวลา 0,1,2,4 และ 6 ชั่วโมง พบว่ามีการแสดงออกของยีน Histone methyltransferase ที่เพิ่มขึ้นโดยยีน G9a มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นที่ 2 ชั่วโมง (p<0.001) และ 6 ชั่วโมง (p<0.05) ยีน DOT1L มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นที่ 2 ชั่วโมง (p<0.05) และ 6 ชั่วโมง (p<0.001) และยีน EZH2 มีการแสดงออกที่เพิ่มขึ้นที่ 6 ชั่วโมง (p<0.01) ในการศึกษาผลของ IGF-1 ต่อการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาพบว่า IGF-1 กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ (p) และการผลิต hyaluronan (p) จึงนำไปสู่การใช้สารยับยั้ง BIX01294 ต่อการยับยั้งเอนไซม์ G9a พบว่าสามารถลดค่าดูดกลืนแสงของ hyaluronan ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการทดลองคาดว่ายีน EZH2 เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนเซลล์ และยีน G9a เกี่ยวข้องกับการผลิต hyaluronan ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา อย่างไรก็ตามผลจากการใช้สารยับยั้งต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์และการผลิต hyaluronan ยังต้องมีการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ค่าที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้คงต้องมีการศึกษากลไกการเกิดโรคในเชิงลึกต่อไปเพื่อการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาโรคตาโปนจากไทรอยด์ในอนาคต