Abstract:
ปัจจุบันป่าชายเลนมีพื้นที่ลดลง การปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนจึงมีความสำคัญและได้รับความสนใจมากขึ้น แต่การปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนโดยทั่วไปนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากกล้าไม้มีอัตราการรอดตายต่ำ การศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาอัตราการรอดตายและการเติบโตของกล้าไม้ป่าชายเลนที่ใช้ในการปลูกฟื้นฟู จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) แสมขาว (Avicennia alba) และลำพู (Sonneratia caseolaris) จากแปลงปลูกแบบผสมชนิด (Mix1 และ Mix2) เทียบกับแปลงปลูกโกงกาง ชนิดเดียว (R1) บนหาดเลนงอกใหม่ ณ สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า อัตราการรอดตาย ของกล้าไม้ทั้งหมดในแปลงปลูกกล้าไม้แบบผสมชนิดสูงกว่าในแปลงปลูกกล้าไม้โกงกางเพียงชนิดเดียว (R1) โดย ที่อัตราการรอดตายเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดการศึกษา (6 เดือน) มีค่าเท่ากับ 60.4%, 93.9% และ 100% สำหรับแปลง R1, Mix1 และ Mix2 ตามลำดับ ความสูงเฉลี่ยของกล้าไม้แสมขาวในแปลง Mix1 และ Mix2 มีค่าสูงกว่าใน แปลง R1 ผลการศึกษาความหนาแน่นของดินพบว่าบริเวณหาดเลนโล่ง (Mudflat) ที่ไม่มีการปลูกกล้าไม้และใน แปลง R1 มีความหนาแน่นของดินน้อยกว่าในแปลงปลูกแบบผสมชนิดทั้ง 2 แปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัดส่วนการกระจายตัวของอนุภาคทรายแป้งและดินเหนียวมีความแตกต่างระหว่างช่วงก่อนและสิ้นสุดการศึกษา โดยในแปลง Mix2 เท่านั้นที่มีลักษณะเนื้อดินเปลี่ยนแปลงจากดินร่วนปนตะกอนเป็นดินตะกอนซึ่งสอดคล้องกับ การเพิ่มขึ้นของระดับความสูงของพื้นที่ กล่าวคือในแปลง R1, Mix1 และ Mix2 มีระดับความสูงของพื้นที่เพิ่มขึ้น มาก เนื่องจากเกิดการทับถมของตะกอนมากกว่าบริเวณหาดเลนโล่ง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการปลูก ฟื้นฟูป่าชายเลนโดยใช้วิธีการปลูกกล้าไม้แบบผสมชนิดโดยมีต้นแสมขาวรวมอยู่ด้วยนั้นส่งผลดีต่ออัตราการรอด ตายและการเติบโตของกล้าไม้มากกว่าการปลูกใช้ต้นโกงกางเพียงชนิดเดียว เนื่องจากต้นแสมขาวมีคุณลักษณะ ในการเป็นพืชเบิกนำที่ยึดครองพื้นที่โล่งได้ดีและมีอัตราการเติบโตเร็ว อีกทั้งยังส่งผลเชิงบวกต่อลักษณะทางกายภาพของดินในบริเวณแปลงปลูกอีกด้วย