dc.contributor.advisor |
วาทิต เบญจพลกุล |
|
dc.contributor.author |
พัฒนเกียรติ ณ นคร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-29T08:06:27Z |
|
dc.date.available |
2022-06-29T08:06:27Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743335056 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79028 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการควบคุมทราฟฟิกภายในโครงข่ายเอทีเอ็มด้วยวิธีการ ควบคุมแบบบีพีซีเอ็นโดยนำตัวทำนายค่าแบบนิวรอลเนตเวิร์กมาทำนายสภาวะของทราฟฟิกเพื่อป้อนกลับ โดยกำหนดให้ระบบที่ศึกษาประกอบด้วยแหล่งกำเนิดทราฟฟิกแบบมีการรับรอง และแหล่งกำเนิดทราฟฟิก แบบเอบีอาร์ ซึ่งมีผลรวมกันทำให้ความเข้มข้อมูลมีค่าใกล้เคียงกับอัตราการนำข้อมูลออกของเอทีเอ็มสวิตช์ และจุดที่ข้อมูลเกิดสภาวะคับคั่งได้คือบัฟเฟอร์ขาออกของเอทีเอ็มสวิตช์ ผลการจำลองทำให้ทราบถึงรูปแบบและ เงื่อนไขการกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆของนิวรอลเนตเวิร์กที่เหมาะสมต่อการทำนายสภาวะทราฟฟิก อันได้แก่ จำนวนนิวรอนในชั้นซ่อนตัว ค่าในอดีตที่เหมาะสมในการทำนายแต่ละช่วงค่าในอนาคต จำนวนชุดข้อมูลสำหรับทำการสอนนิวรอลเนตเวิร์ก และจำนวนรอบในการสอน ซึ่งนิวรอลเนตเวิร์กที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยเงื่อนไขต่าง ๆที่เหมาะสมจะให้ค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยที่มีค่าต่ำทั้งในกรณีที่ทดสอบกับชุดข้อมูลสำหรับทำการสอนและชุดข้อมูลอื่น ๆ จากแหล่งกำเนิดทราฟฟิกชุดเดียวกัน โดยเมื่อค่าการประวิงในการแพร่กระจายต้องมีค่าไม่เกิน 20 หน่วยเวลา โดยที่ 1 หน่วยเวลา คือเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล 1 เอทีเอ็มเซลล์ ที่ 155 Mbps ผลการนำเอานิวรอลเนตเวิร์กดังกล่าวมาควบคุมทราฟฟิกภายในระบบเอทีเอ็ม พบว่าให้สมรรถนะดีกว่าการควบคุมแบบบีพีซีเอ็นที่ใช้อัลกอริทึมอาร์แอลเอสในระยะที่ช่วงการประวิงในการแพร่กระจายมีค่าต่ำกว่า 20 หน่วยเวลา กล่าวคือ เมื่อใช้การควบคุมทราฟฟิกแบบบีพีซีเอ็นที่ใช้นิวรอลเนตเวิร์ก ในการทำนายค่าแล้วส่งผลให้ ทราฟฟิกแบบมีการรับรองมีค่าการประวิงในการส่งข้อมูลลดลงเป็น 88% - 95%, อัตราส่วนการสูญเสียของข้อมูลมีค่าลดลงเป็น 37%-86%, และทราฟฟิกแบบเอบีอาร์มีอัตราส่วนการสูญเสียลดลงเป็น 18%-92% โดยค่าทั้งหมดเทียบกับการควบคุมทราฟฟิกแบบบีพีซีเอ็นที่ใช้อัลกอริทึมอาร์แอลเอส อย่างไรก็ตามการควบคุมแบบบีพีซีเอ็นที่ใช้นิวรอลเนตเวิร์กในงานวิจัยนี้ ยังคงมีผลกระทบต่อการประวิงในการส่งข้อมูลของทราฟฟิกแบบเอบีอาร์ซึ่งเพิ่มขึ้นอีก 5%-9% เมื่อเทียบกับการควบคุมทราฟฟิกแบบบีพีซีเอ็นที่ใช้อัลกอริทึมอาร์แอลเอส ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้ปรากฏเช่นเดียวกัน ในผลการควบคุมแบบบีอีซีเอ็นและผลการควบคุมแบบ บีพีซีเอ็นที่ใช้อัลกอริทึมอาร์แอลเอส |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to study a BPCN traffic control in ATM networks, where a neural network predictor for feeding back traffic status is applied. The studied ATM network consists of guaranteed-traffic sources and ABR-traffic sources that make the total traffic intensity approximately near the service rate of the ATM switch. So, the bottleneck where the congestion may occur is at the output buffer of ATM switch. The proper structure and parameter assignment of neural network for traffic prediction such as number of neurons in hidden layer, the proper past value using as a data base for prediction in each future value step, the number of training sets and the number of iterations in training process can be found from the simulation results. The neural network which is trained under the condition stated above, results in a lower mean square of error in case of testing with training sets and others test sets generated from the same traffic sources when the propagation delay is less than 20-unit time, where 1-unit time is the time required to send 1 cell of ATM data at 155 Mbps. From the simulation results, the performance of the BPCN traffic control scheme using neural network is higher than that of the BPCN control scheme using RLS algorithm when the propagation delay is approximately lower than 20-unit time. For the guaranteed-traffic, the transmission delay decreases to 88%-95%, the loss ratio of the guaranteed-traffic decreases to 37%-86% and the loss ratio of the ABR traffic decreases to 18%-92% of the same parameters when compared with the case where the RLS is applied. Despite of these advantages, the BPCN using neural network increases the transmission delay of ABR traffic about 5%-9% when compared with the case where the RLS is applied. This drawback is also found in the previous research of the BECN and BPCN using RLS. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การสื่อสารข้อมูล |
en_US |
dc.subject |
โทรคมนาคม ปริมาณการใช้ |
en_US |
dc.subject |
เอทีเอ็ม (การสื่อสารข้อมูล) |
en_US |
dc.subject |
นิวรัลเน็ตเวิร์ค (วิทยาการคอมพิวเตอร์) |
en_US |
dc.subject |
Telecommunication -- Traffic |
en_US |
dc.subject |
Asynchronous transfer mode |
en_US |
dc.subject |
Neural networks (Computer science) |
en_US |
dc.title |
การศึกษาการควบคุมความคับคั่งแบบบีพีซีเอ็นในโครงข่ายเอทีเอ็มโดยตัวทำนายค่าแบบนิวรอลเนตเวิร์ก |
en_US |
dc.title.alternative |
A study of the BPCN congestion control scheme in ATM networks using a neural network predictor |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมไฟฟ้า |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |