Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งอดทนและสุขภาวะทางจิตของเยาวชนผู้เข้ารับ การฝึกปฏิบัติธรรมในหลักสูตรเนกขัมมบารมี (ทั่วไป) ของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในระยะ ก่อนการฝึกปฏิบัติธรรม หลังการฝึกปฏิบัติธรรม และระยะติดตามผล โดยการเก็บข้อมูล เชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนจำนวน 103 คน ผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติธรรม เป็นครั้งแรก ในโครงการเนกขัมมบารมี (ทั่วไป) ซึ่งจัดขึ้นโดย ยุวพุทธิกสมาคมประเทศไทย เป็นเวลา 8 วัน 7 คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความเข้มแข็ง อดทนและแบบวัดสุขภาวะทางจิตวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. ก่อนเข้ารับการฝึกปฏิบัติธรรม เยาวชนผู้ปฏิบัติธรรมมีความเข้มแข็งอดทนในระดับสูง และมีสุขภาวะทางจิตในระดับปานกลาง 2. หลังการ ฝึกปฏิบัติธรรมและระยะติดตามผล เยาวชนผู้ปฏิบัติ ธรรมมีความเข้มแข็งอดทนสูงกว่าก่อนการฝึกปฏิบัติธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมี ความเข้มแข็งอดทนในระยะหลังการฝึกปฏิบัติธรรมและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน 3. หลังการฝึก ปฏิบัติธรรมและระยะติดตามผล เยาวชนผู้ปฏิบัติธรรมมีสุขภาวะทางจิตสูงกว่าก่อนการฝึกปฏิบัติธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิตที่ระดับ .05 และมีสุขภาวะทางจิตในระยะหลังการฝึกปฏิบัติธรรมและระยะติดตาม ผลไม่แตกต่างกัน ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เยาวชนจำนวน 10 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน ที่เต็มใจให้สัมภาษณ์ คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่าง 103 คนของการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าผู้ปฏิบัติธรรมรับรู้ ผลดีของการฝึกปฏิบัติธรรม ประสบการณ์ในระหว่างปฏิบัติธรรมที่เอื้อให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีความเข้มแข็ง อดทน และสุขภาวะทางจิตเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนฝึกปฏิบัติธรรม ได้แก่ 1) กระบวนการฝึกปฏิบัติธรรม รวมถึงสถานที่ปฏิบัติธรรม การฝึกสมาธิ และการฟังธรรมบรรยาย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์กับวิทยากรพี่เลี้ยง และ ผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมรายอื่นใสถานปฏิบัติธรรมที่ส่งผลทางบวก 2) เป้าหมายและความคาดหวัง ต่อตนเองทางบวกระหว่างปฏิบัติธรรม 3) ผลทางด้านบวกจากการได้ปฏิบัติธรรม 4) การฝึกสมาธิต่อด้วย ตนเอง และ 5) การนำหลักธรรมที่เรียนรู้ในระหว่างปฏิบัติธรรมมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน