DSpace Repository

Assessment of knowledge, attitude and usage on personal protective equipment among mechanical maintenance workers of a power generation unit in Thailand

Show simple item record

dc.contributor.advisor Tepanata Pumpaibool
dc.contributor.author Titiphorn Tankian
dc.contributor.other Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
dc.date.accessioned 2022-07-01T03:41:07Z
dc.date.available 2022-07-01T03:41:07Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79082
dc.description Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2021
dc.description.abstract A Power Generation Unit has duty of electric power supply to the people by producing and distributing electric power. The mechanical maintenance department is one part of their responsibility to achieve the target. However, 207 accident cases were reported during 2012 to 2019. The main causes were found to be unsafe act and unsafe condition including improper usage and lack of personal protective equipment (PPEs).  Thus, knowledge, attitude regarding to PPEs, its usage, and factors related to PPEs usage of mechanical maintenance workers need to be assessed. This survey study collected data through self-response questionnaire from 379 mechanical maintenance workers of a power generation unit in Thailand.  The average age of the workers is 42 years. Most of workers are man and 80.7% have a position as technician. Most of them have ever passed safety training before starting working which wearing PPEs was a part of safety training. Half of workers got injury from accident while working. The results reveal that 43.3%, 54.6%, and 2.1% of the workers possess level of knowledge at high, moderate, and low respectively. Only 20.8% showed high level of attitude on PPE usage. Moreover, 77% of them did not regularly use recommended PPEs while working, among these, 60% of them did not use regular PPEs and a few used particular PPEs. The association between attitude and practice was significantly low positive correlation. Besides, attitude also associated with knowledge. No association between knowledge and practice was found. Related factors can affect to usage PPEs (p-value<0.05); i.e., job position, department, education, times of safety training), injury’s history, and attitude. The results of the study suggested that policy and program is necessary enhance the awareness of the benefit of wearing PPEs and training should be introduced for workers in Thailand. The further study should be conducted to investigate the reason behind cause of non-use PPEs during working.
dc.description.abstractalternative หน่วยงานผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยมีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับประชาชนโดยผ่านทั้งการผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าซึ่งแผนกซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกลเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ. 2555 ถึง ปี พ.ศ 2562 มีรายงานกรณีการเกิดอุบัติเหตุจำนวน 207 ราย โดยผลจากการสอบสวนอุบัติเหตุพบว่าสาเหตุหลักคือการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งได้รวมถึงการใช้งานที่ไม่เหมาะสมและการขาดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ดังนั้น การศึกษานี้มุ่งเน้นในการประเมินความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การใช้อุปกรณ์ป้องกัน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ของพนักงานบำรุงรักษาเครื่องกล ซึ่งการศึกษาได้ศึกษาผ่านการสำรวจรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองจากพนักงานบำรุงรักษาเครื่องกลจำนวน 379 คนของหน่วยผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย โดยอายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 42 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และร้อยละ 80.7 ปฏิบัติงานในตำแหน่งช่าง พนักงานส่วนใหญ่เคยผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยก่อนเริ่มทำงาน ซึ่งการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมด้านความปลอดภัย และพนักงานจำนวนครึ่งหนึ่งมีประวัติเคยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขณะทำงาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ร้อยละ 43.3 54.6 และ 2.1 ของพนักงานมีความรู้ระดับสูง ปานกลาง และต่ำตามลำดับ และมีเพียงร้อยละ 20.8 ที่แสดงทัศนคติต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในระดับสูง นอกจากนี้ร้อยละ77 ของผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่แนะนำเป็นประจำในขณะที่ปฏิบัติงาน โดยในจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็นร้อยละ 60 ที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลพื้นฐานทั่วไป และมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนน้อยที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายประเภทเฉพาะ จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นยังพบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและความรู้ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (p-value<0.05) ได้แก่ ตำแหน่งงาน แผนก ระดับการศึกษา จำนวนครั้งเฉลี่ยที่ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย  และประวัติการได้รับการบาดเจ็บในระหว่างการปฏิบัติงาน จากการศึกษาการประเมินความรู้ ทัศนคติ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานบำรุงรักษาเครื่องกลของหน่วยงานผลิตไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่านโยบายและแผนงานเป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและควรมีการแนะนำการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกลในประเทศไทยทั้งนี้ในอนาคตควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงของการที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในระหว่างการปฏิบัติงานต่อไป
dc.language.iso en
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.350
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject Electric power production -- Security measures
dc.subject Industrial safety
dc.subject Health behavior
dc.subject Industrial hygiene
dc.subject การผลิตพลังงานไฟฟ้า -- มาตรการความปลอดภัย
dc.subject ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ
dc.subject อาชีวอนามัย
dc.title Assessment of knowledge, attitude and usage on personal protective equipment among mechanical maintenance workers of a power generation unit in Thailand
dc.title.alternative การประเมินความรู้ ทัศนคติ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานบำรุงรักษาเครื่องกลของหน่วยงานผลิตไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศไทย
dc.type Thesis
dc.degree.name Master of Public Health
dc.degree.level Master's Degree
dc.degree.discipline Public Health
dc.degree.grantor Chulalongkorn University
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.350


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record