DSpace Repository

การทดสอบสกอร์และวิธีการบูทสแตรปสำหรับการทดสอบทวินามนิเสธที่มีค่าศูนย์จำนวนมาก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัตติฤดี เจริญรักษ์
dc.contributor.author สิริยาภรณ์ บรรณสิทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2022-07-01T04:17:32Z
dc.date.available 2022-07-01T04:17:32Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79118
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการควบคุมความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 และเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบกำลังการทดสอบสำหรับวิธีการทดสอบสกอร์และวิธีการบูทสแตรปที่ประยุกต์กับการทดสอบสกอร์ สำหรับการแจกแจงทวินามนิเสธที่มีค่าศูนย์จำนวนมาก โดยพิจารณาความสามารถในการควบคุมความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 และกำลังการทดสอบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้วิธีการจำลองข้อมูลที่อาศัยเทคนิคมอนติคาร์โล ซึ่งในงานวิจัยได้จำลองข้อมูลที่มีการแจกแจงทวินามนิเสธที่มีค่าศูนย์จำนวนมาก ที่มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดศูนย์เท่ากับ 0, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 และ 0.5 โดยมีค่าเฉลี่ยทวินามนิเสธเท่ากับ 1, 2, 3 และ 4 มีการกระจาย (Dispersion) สำหรับการแจกแจงทวินามนิเสธที่มีค่าศูนย์จำนวนมาก เท่ากับ 0.01, 0.025, 0.05 และ 0.075 ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 20, 50 และ 100 และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบเท่ากับ 0.05 ในแต่ละสถานการณ์กระทำซ้ำ 5,000 ครั้ง ผลการวิจัยปรากฏว่าทั้งการทดสอบสกอร์และการทดสอบบูทสแตรปที่ประยุกต์ที่ประยุกต์กับการทดสอบสกอร์ สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 ได้ดี และเมื่อพิจารณากำลังการทดสอบพบว่า ส่วนมากการทดสอบบูทสแตรปที่ประยุกต์กับการทดสอบสกอร์ให้กำลังการทดสอบที่สูงกว่าการทดสอบสกอร์ จากการพิจารณาทั้งความน่าจะเป็นของความความผิดพลาดแบบที่ 1 และกำลังการทดสอบภายใต้การแจกแจงทวินามนิเสธที่มีค่าศูนย์จำนวนมาก สรุปได้ว่าวิธีการบูทสแตรปที่ประยุกต์กับการทดสอบสกอร์ช่วยให้การทดสอบสกอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the ability to control the probability of a type 1 error and to compare the power of a test between a score test and a bootstrap test applied on a score test of zero inflated negative binomial distribution. The criteria used for comparison was the ability to control the probability of a type 1 error and the power of a test. This research was an experimental study based on data simulation by Monte Carlo technique. The data were simulated from zero inflated negative binomial distribution as the probabilities of generating zeros are 0, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 and 0.5, the means are 1, 2, 3 and 4, and the dispersion are 0.010, 0.025, 0.05 and 0.075. The sample size of 20, 50 and 100 were used. The statistical significance level was set to 0.05 for each situation replicated 5,000 times. The results of the research showed that both of the score test and the bootstrap test applied on a score test mostly has well controlling of the probability of a type 1 error. Moreover, the bootstrap test applied on a score test has better power of a test than the score test in most of situations. In conclusion, the bootstrap test applied on a score test shows higher effectiveness than the score test.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1064
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การแจกแจงแบบนิเสธทวินาม
dc.subject บูทสแตร็ป (สถิติ)
dc.subject การแจกแจง (ทฤษฎีความน่าจะเป็น)
dc.subject Negative binomial distribution
dc.subject Bootstrap (Statistics)
dc.subject Distribution ‪(Probability theory)‬
dc.subject.classification Mathematics
dc.title การทดสอบสกอร์และวิธีการบูทสแตรปสำหรับการทดสอบทวินามนิเสธที่มีค่าศูนย์จำนวนมาก
dc.title.alternative A score test and bootstrap method for zero inflated negative binomial test
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถิติ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1064


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record