Abstract:
จากผลการสำรวจสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าลำพูนพื้นที่ถนนรถ ได้ทำการศึกษาคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์ คุ้มเจ้ายอดเรือน และคุ้มเจ้าสุริยา พบว่าคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือนได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ในขนะที่คุ้มเจ้าสุริยายังไม่ได้รับการปรับปรุงและเกิดความเสียหายทางสถาปัตยกรรม จึงต้องหาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคาร โดยการศึกษาวิธีการปรับปรุงจากอาคารอนุรักษ์ตัวอย่าง เพื่อให้อาคารสามารถใช้เป็นที่ศึกษาทางสถาปัตยกรรม วัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนในการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา โดยดำเนินการตามขึ้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลังจากงานวิจัย สื่อออนไลน์ การสำภาษณ์ และศึกษาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ขั้นตอนที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจและจัดทำแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าสุริยา และเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลัง พบว่ารูปแบบผังอาคารของคุ้มเจ้าสุริยากับคุ้มเจ้ายอดเรือนเหมือนกันอย่างชัดเจน โดยทำการเปรียบเทียบเมื่อกลับด้านผังอาคาร ขั้นตอนที่ 3 จากการรวบรวมข้อมูลในการอ้างอิงการปรับปรุง พบแนวทางการปรับปรุง 3 แนวทาง ซึ่งสามารถนำไปประยุคใช้ในแต่ละส่วนดังนี้ ตำแหน่งที่มีข้อมูลชัดเจน ตำแหน่งที่ข้อมูลไม่ชัดเจนใช้แนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้ายอดเรือน ตำแหน่งที่ไม่มีข้อมูล ปรับปรุงตามสภาพ โดยใช้แนวทางการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ผลการศึกษาหาความแท้ของคุ้มเจ้าสุริยา ประกอบด้วยวิธีการค้นหา 3 วิธี ซึ่งใช้ประกอบแนวทางวิธีการปรับปรุงในตำแหน่งความเสียหายตามลำดับความชัดเจนของข้อมูลทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสนอทางเลือกแนวทางวิธีการปรับปรุง โดยการเปรียบเทียบนำเสนอคือ แบบสภาพปัจจุบัน/แบบดั้งเดิม/แบบที่สามารถปรับปรุงได้