DSpace Repository

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พีรศรี โพวาทอง
dc.contributor.author ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-01T04:27:47Z
dc.date.available 2022-07-01T04:27:47Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79121
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ผ่านการศึกษาภูมิหลัง แนวคิด แนวทางการศึกษา และผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม รวบรวมหลักฐาน ทั้งเอกสารข้อเขียน เอกสารราชการ แบบสถาปัตยกรรม และตัวสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยคัดเลือกอาคารกรณีศึกษา 24 หลัง ที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2463 – 2493 และนำไปวิเคราะห์หาลักษณะร่วมและความแตกต่างในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาชี้ชัดได้ว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากทั้งบริบทสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยผสานความรู้ความเข้าใจในวิธีการออกแบบ กับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในแนวทางของโบซารต์และโรงเรียนลิเวอร์พูล จากพื้นฐานการศึกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค อิตาเลียนฟาสซิสต์ และพีดับบลิวเอโมเดิร์น ในช่วงการประกอบวิชาชีพ ประกอบกับรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี จากการทำงานร่วมกับสถาปนิกไทยที่ออกแบบในแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาค้นพบว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ใช้แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซารต์ตลอดช่วงการประกอบวิชาชีพ ทั้งการใช้ระบบกริด (grid) และระบบแกน (axis) ในการออกแบบผังพื้นและรูปด้านอาคาร การวางระบบทางสัญจรโดยใช้โถงและทางเดิน การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบฐาน – ตัว – หัว ระบบช่องเปิด ตลอดจนระบบมุขและปีกอาคาร แม้จะมีแนวทางในการออกแบบเดียว แต่ผลงานสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ก็มีรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองเหตุปัจจัย และบริบทของอาคารแต่ละหลัง เช่น แนวแกน และทางสัญจรในผังบริเวณ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมกับประเภทการใช้งานของอาคาร ด้วยแนวทางการออกแบบดังกล่าว ประกอบกับบทบาทสำคัญในวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระสาโรชรัตนนิมมานก์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทางของสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ หรือ “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” ซึ่งงานศึกษานี้เสนอว่าน่าจะนิยามจากมิติทางสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ในบริบทจำเพาะของประเทศไทย มากกว่าการพยายามอธิบายภายในกรอบอันจำกัดของรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งอย่างใด
dc.description.abstractalternative This thesis is an analytical description of the architectural design method as well as the influence that affected the architectural designs of Phra Saroj Ratananimman (Saroj Sukhayanga) by examing his background, ideologies, educational background, and his architectural works. Through the compilation of evidence, including writings, official documents, architectural drawings, and his remaining architectural works, twenty-four architectural case studies constructed during 1920 – 1950 were selected for detailed study of the themes and variations in Phra Saroj Ratananimman’s architectural designs. A major finding is that Phra Saroj Ratananimman was immensely influenced by the contextual qualities of architecture in Thailand and in the west, within the consolidation of the design process and the western architectural styles from both the Beaux-Arts and the School of Liverpool. This is also strongly suggested from the educational foundation of the architectural styles such as Art Deco, Italian Fascism and PWA Moderne during the times of his profession, including the traditional Thai architecture from the collaboration with the Thai architects within the scope of the methodology as mentioned. Additionally, the thesis also discovers that Phra Saroj Ratananimman had maintained the Beaux-Arts architectural design process throughout his long and prolific professional career. The use of the grid and axial system in the designs of floor plans and facades, the halls-and-corridors circulation system, the base-body-head formal configuration, the order of openings together with the portico-and-wings formal. Despite having only one design method, Phra Saroj Ratananimman could create a huge variety of architectural designs, each of which was a specific response to the context: the axial circulation system in the layout design, the contextual awareness of the surrounding buildings’ style, local climatic conditions, and the stylistic correspondence to its use. With such architectural design method, along with playing an extremely vital role in Thailand’s architectural profession and academia during the transition from the absolute monarchy regime to democracy, Phra Saroj Ratananimman was the key person to set direction of the term “Modern Architecture” in Thailand. Therefore, this study proposes that the term is coined from the complexity of the architectural dimension within the specific context of Thailand, more than the attempt to give description within a limited scope of western architectural styles, or even any specific kinds of political ideologies.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1045
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject สาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), พระ, 2438-2493
dc.subject สถาปัตยกรรมไทย -- ประวัติ
dc.subject สถาปัตยกรรม -- ไทย
dc.subject Architecture, Thai -- History
dc.subject Architecture -- Thailand
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
dc.title.alternative The architectural design method of Phra Saroj Ratananimman (Saroj Sukhayanga)
dc.type Thesis
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1045


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record