Abstract:
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การวัดอัตราเร็วการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์โดยใช้วิธีศึกษาจุดมืดบนดวงอาทิตย์” มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราเร็วการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ โดยใช้สิ่งที่สามารถสังเกตได้ง่ายจากโลก อันได้แก่ จุดมืดบนดวง อาทิตย์ ในการโครงงานนี้ได้พยายามถ่ายภาพดวงอาทิตย์ โดยใช้กล้องโทรทัศน์แบบ Newtonian ที่มีความยาวโฟกัส 650 มิลลิเมตร และนำภาพถ่ายที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาอัตราเร็วการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์แต่เนื่องจากในระยะเวลาของการทดลองไม่ สามารถถ่ายภาพของจุดดำได้ จึงได้นำภาพดวงอาทิตย์ จาก “Laboratory of X-ray astronomy of the Sun” มาทำการคำนวณ ผลที่ได้คือ ดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วการหมุนรอบตัวเองเฉลี่ย 13.8 องศาต่อวัน และไม่เท่ากันในแต่ละละติจูด การที่ดวงอาทิตย์มี อัตราเร็วการหมุนรอบตัวเองไม่เท่ากันนั้น เป็นผลเนื่องจากดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ ไม่ใช่วัตถุแข็งเกร็ง ดังนั้นแรงที่ทำให้ เกิดการหมุนจึงมีเพียงแรงหนืดเท่านั้น อัตราเร็วการหมุนรอบตัวเองจึงไม่เท่ากันในทุกตำแหน่งและด้วยผลของการหมุนรอบตัวเองที่ ไม่เท่ากันในทุกตำแหน่งนี้ส่งผลต่อสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ ซึ่งการแปรปรวนของสนาม แม่เหล็กนี้ทำให้เกิด “จุดมืด” นั้นเอง