DSpace Repository

การเตรียมมาส์กหน้าจากแกลบข้าวนาโนเซลลูโลส

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดวงดาว อาจองค์
dc.contributor.author ทัสชา ปฏิภาณปรีชาวุฒิ
dc.contributor.author นภัสภรณ์ พิชิตอนันต์สกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-11T09:50:28Z
dc.date.available 2022-07-11T09:50:28Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79236
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract เซลลูโลสเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติซึ่งสามารถพบได้ในพืชและสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ นาโน เซลลูโลสเป็นวัสดุที่มีสมบัติเชิงกลสูงและมีความสามารถในการกักเก็บความชื้นได้ดี โดยนาโนเซลลูโลสสามารถเตรียม ได้จากการนำเซลลูโลสระดับไมโครเมตรผ่านกระบวนการทางกลและกระบวนทางเคมี จากที่ประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรมจึงเป็นแนวทางที่ดีในการนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีหลากหลายโดยเฉพาะข้าวไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่ม แกลบข้าวเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการสีข้าวเปลือกซึ่งในกระบวนการนี้มีการผลิตแกลบข้าวใน ปริมาณมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดขยะเหลือทิ้งโดยที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์จำนวนมาก จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีพบว่าแกลบข้าวประกอบด้วยเซลลูโลสในปริมาณที่สูงจึงทำให้สามารถนำแกลบข้าวมาใช้ในการสกัดเป็นนาโน เซลลูโลสได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาการเตรียมนาโนเซลลูโลสจากแกลบข้าวเพื่อนำมาเตรียมแผ่นมาส์กหน้าไฮโดรเจลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในขั้นตอนแรกทำการเตรียมสารแขวนลอยนาโนเซลลูโลสโดยเครื่อง ลดขนาดอนุภาคชนิดความดันสูง จากนั้นนำสารแขวนลอยนาโนเซลลูโลสมาผสมกับสารละลายโซเดียมอัลจิเนตใน อัตราส่วนต่างๆ ได้แก่ 1:1, 2:1, 3:1 และ 4:1 โดยน้ำหนักตามลำดับ เพื่อทำให้เกิดแผ่นไฮโดรเจลที่มีรูพรุน นอกจากนี้ ยังใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์เป็นสารเชื่อมขวางที่ความเข้มข้นที่แตกต่างกัน คือ 0.05, 0.10, 0.20, 0.40 และ 0.80 โมลาร์ เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมแผ่นไฮโดรเจล จากการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโกปีพบว่าส่วนที่เป็นอสัณฐานได้แก่ เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และซิลิกาได้ถูกกำจัด ออกไปอย่างมีประสิทธิภาพหลังจากผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยกระบวนการทางเคมี และการศึกษาดัชนีความเป็น ผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์พบว่าเยื่อที่กำจัดสิ่งสกปรกด้วยกระบวนการทางเคมีต่างๆ มีค่าดัชนีความ เป็นผลึกสูงกว่าแกลบข้าวอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นไฮโดรเจลที่มีส่วนประกอบของนาโนโนเซลลูโลส และโซเดียมอัลจิเนตมีความสามารถในการอุ้มน้ำมากกว่าแผ่นไฮโดรเจลที่มีส่วนประกอบของโซเดียมอัลจิเนตเพียง อย่างเดียว และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์พบว่าความสามารถในการอุ้มน้ำของแผ่นไฮโดร เจลมีค่าลดลง โดยงานวิจัยในอนาคตจะนำแผ่นไฮโดรเจลที่เตรียมได้ไปทำการนึ่งฆ่าเชื้อ และศึกษาความเข้ากันได้ทางชีวภาพและฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Cellulose found in plants is a biopolymer which can be degraded naturally in an environment. Nanocellulose that have great mechanical properties and high moisture content can typically be prepared by treating micron-sized cellulose with both chemical and mechanical processes. Since Thailand is an agricultural producing country, it is a great opportunity of utilizing agricultural crops, i.e., rice, as value-added products. Rice husk is an agricultural waste that is mechanically extracted from paddy rice. During milling process, large amount of rich husk is extensively generated, thereby leaving lots of residual waste. According to its composition, rice husk comprises high cellulose content which can possibly be turned into nanocellulose. Therefore, this research aimed to prepare nanocellulose from rice husk for producing hydrogel facial mask in cosmetic applications. First, nanocellulose aqueous suspension was prepared by a high-pressure homogenizer and then incorporated with sodium alginate solution at various proportions: 1:1, 2:1, 3:1, and 4:1 w/w (nanocellulose: sodium alginate) to create porous hydrogels. Moreover, calcium chloride was used as a crosslinking agent at different concentrations: 0.05, 0.10, 0.20, 0.40, and 0.80 M to study the optimum condition for preparing hydrogels. The functional groups confirmed by Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR) showed the obvious disappearance of amorphous components including hemicellulose, lignin, and silica after being treated with chemical processes. As studied by X-ray diffraction (XRD) analysis, it was found that the chemically treated pulp had much higher crystallinity index than raw rice husk. Additionally, the hydrogels prepared by both nanocellulose and sodium alginate exhibited much higher water absorption than that prepared by sodium alginate alone. When increasing concentration of calcium chloride solution, the hydrogels tended to provide lower water absorption ability. In future work, the produced hydrogels will be sterilized, and their biocompatibility as well as antibacterial activity will further be investigated. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เซลลูโลส en_US
dc.subject แกลบ en_US
dc.subject Cellulose en_US
dc.subject Rice hulls en_US
dc.title การเตรียมมาส์กหน้าจากแกลบข้าวนาโนเซลลูโลส en_US
dc.title.alternative Preparation of Rice Husk Nanocellulose Facial Mask en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record