dc.contributor.advisor |
สุพิชชา อิ่มจิต |
|
dc.contributor.author |
นภสร ไทยสม |
|
dc.contributor.author |
สุพิชชา อิ่มจิต |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-18T04:33:33Z |
|
dc.date.available |
2022-07-18T04:33:33Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79285 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
การใช้เชื้อเพลิงในปัจจุบันก่อเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก ดังนั้น การใช้เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมจึงมีแนวโน้มลดลงและการใช้พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจ คือการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ยังมีปัญหาในประเด็นที่พลังงานดังกล่าวใช้ได้เฉพาะในตอนช่วงเวลากลางวันหรือช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ ดังนั้นการมีระบบที่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์นี้ไว้ เพื่อที่จะนำพลังงานมาใช้ในช่วงที่ต้องการใช้พลังงานจะช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ด้วยเหตุนี้ การวิจัยและพัฒนาระบบการกักเก็บพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูงจึงมีความสำคัญ งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบระบบการกักเก็บพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ในรูปพันธะเคมีโดยใช้กระบวนการปฏิกิริยาเคมีแบบผันกลับได้ของ CaO/Ca(OH)₂ เทียบกับ CaO/CaCO₃ ทั้งในมิติของ อุปกรณ์ที่ใช้ วัสดุของอุปกรณ์ สภาวะดำเนินการของระบบ และ เงินลงทุนหรือผลวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ด้วยการจำลองกระบวนการโดยใช้โปรแกรม Aspen Plus V9 ในการสร้างแบบจำลอง และใช้แบบจำลองเทอร์โมไดนามิกส์ UNIQUAC จากการจำลองพบว่า ระบบ CaO/Ca(OH)₂ มีค่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อนและประสิทธิภาพเชิงไฟฟ้าเป็น 80.28% และ 31.13% ตามลำดับ โดยต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 2.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเมกะวัตต์ สำหรับระบบ CaO/CaCO₃ ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนและประสิทธิภาพเชิงไฟฟ้ามีค่าเท่ากับ 62.41% และ 22.25% ตามลำดับ และเงินลงทุนเป็น 3.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเมกะวัตต์ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Currently, the use of conventional fuel creates environmental problem such as global warming. Therefore, trend of petroleum consumption will decline. On the other hand, renewable energy consumption will increase. One of renewable energy solution that has received attention is the technology of generating electricity from solar energy. However, the electricity from solar energy still has a limitation since the energy source is only available during the daytime. Therefore, there should be a system that could store the energy so that it could be used whenever it is required. Research and development for a highly efficient thermal energy storage system is therefore important. This research was aimed to compare the performances and economics of two thermal energy storage systems based on chemical reversible reactions. One system is employed the reaction of CaO/Ca(OH)₂ and the other is the reaction of CaO/CaCO₃, which are chemically stable cheap and do not cause pollution. Each system was modeled and simulated using Aspen Plus V9 by using UNIQUAC thermodynamic model for estimating chemical properties. From the simulation, it is found that thermal efficiency and electrical efficiency of CaO/Ca(OH)₂ system were 80.28% and 31.13% respectively and its investment cost was approximately 2.18X10⁶ USD/MW. Those of the CaO/CaCO₃ system were 62.41% and 22.25%, respectively and the investment cost was 3.54X10⁶ USD/MW. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
พลังงานแสงอาทิตย์ |
en_US |
dc.subject |
การกักเก็บพลังงาน -- เครื่องมือและอุปกรณ์ |
en_US |
dc.subject |
Solar energy |
en_US |
dc.subject |
Energy storage -- Equipment and supplies |
en_US |
dc.title |
การเปรียบเทียบเชิงสมรรถนะและเศรษฐศาสตร์ของระบบกักเก็บพลังงานเคมีแบบ CaO/Ca(OH)₂ กับ แบบ CaO/CaCO₃ |
en_US |
dc.title.alternative |
Performance Comparison of CaO/Ca(OH)₂ and CaO/CaCO₃ chemical Energy storage systems |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |