Abstract:
การศึกษาการเพิ่มความชอบน้ำ ของเมมเบรนเส้นใยกลวงโพลิไวนิลไอดีนฟลูออไรด์โดยผ่านการ กระตุ้นด้วยพลาสมา pulse inductively coupled plasma (PICP) และเคลือบด้วยอนุภาคนาโนแกรฟีน ผล จากการวิเคราะห์กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) พบว่าเมมเบรนที่ผ่านการกระตุ้นด้วยพลาสมา และเคลือบด้วยอนุภาคนาโนแกรฟีนมีพื้นผิวที่เรียบกว่าเมมเบรนปกติ การกระตุ้นด้วยพลาสมาและการ เคลือบเมมเบรนด้วยกรดอะคริลิคทำให้เมมเบรนมีความชอบน้ำ เพิ่มขึ้น สังเกตได้จากค่ามุมสัมผัสของน้ำ (WCA) เมมเบรนที่ลดลงจาก 73.6° ±1.5° เป็น 63.86± 6.3° และเมื่อนำเมมเบรนที่เคลือบด้วยกรดอะคริลิค ไปเกาะติดสารละลายอนุภาคนาโนแกรฟีนออกไซด์ที่เตรียมไว้ เมื่อเปรียบเทียบเวลาในเกาะติดเมมเบรน ในนาโนแกรฟีนออกไซด์ที่ 1, 2, 4, และ 24 ชั่วโมงพบว่า ที่เวลา 24 ชั่วโมงค่ามุมสัมผัสของน้ำ ของเมม เบรนทุกความเข้มข้น (10, 20, 40 ppm) ลดลงมากที่สุด และเมมเบรนที่ผ่านกระตุ้นด้วยพลาสมาที่เกาะติด ความเข้มข้นนาโนแกนฟีนออกไซด์ 10 ppm เป็นเวลา 24 ชั่วโมงมีค่ามุมสัมผัสของน้ำ น้อยที่สุด (42.29 ± 6.2°) จากผลค่ามุมสัมผัสของน้ำแสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นเมมบรนโดยพลาสมาและการเคลือบนาโนแก รฟีนออกไซด์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติความชอบน้ำของเมมเบรนเส้นใยกลวงเพื่อที่จะสามารถนำเมมเบรนนี้ไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยเมมเบรนได้