DSpace Repository

ผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน

Show simple item record

dc.contributor.advisor เบญจพล เบญจพลากร
dc.contributor.author พงษ์เทพ นามศิริ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:07:17Z
dc.date.available 2022-07-23T03:07:17Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79342
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การเพ่งความตั้งใจเป็นสิ่งที่บรรดานักกีฬาและนักวิจัยสนใจ และ ได้มีการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนักกีฬาจักรยานประเภทถนนจำนวน 17 ราย มีอายุเฉลี่ย 39.76 ± 7.10 ปี มีประสบการณ์การปั่นจักรยานประเภทถนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.24 ± 1.52 ปี และมีค่าสมรรถนะใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) เฉลี่ยอยู่ที่  53.41 ± 9.97 มิลิลิตรต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมต่อนาที กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการทดสอบการสพรินต์จักรยานด้วยความเร็วสูงสุด 30 วินาที ด้วยวิธีวินเกต ภายใต้การเพ่งความตั้งใจ 3 แบบ ได้แก่ แบบควบคุม แบบเพ่งความตั้งใจภายใน และแบบเพ่งความตั้งใจภายนอก นำตัวแปรตามที่วัดได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนข้อมูลโดยใช้ One-way ANOVA with repeated measures กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <  .05 และใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ด้วยวิธีแบบบอนเฟอโรนี  ผลการวิจัยพบว่า การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกส่งผลให้ตัวแปรตามคือ ความเร็วสพรินต์เฉลี่ย ความเร็วรอบขาสพรินต์เฉลี่ย พาวเวอร์เฉลี่ย และ ระยะทางของการสพรินต์ 30 วินาที ดีกว่าการเพ่งความตั้งใจแบบภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.01 หากแต่ตัวแปร ระดับความสามารถอยู่ในความตั้งใจของการทดสอบ ระดับความล้า แรงกดบันได อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างวิธีการเพ่งความตั้งใจภายนอกและภายใน สรุปผลการวิจัยได้ว่า การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกสามารถส่งเสริมให้สามารถในการสพรินต์ในช่วง 30 วินาทีดีกว่าแบบภายใน ซึ่งนักกีฬาจักรยานและผู้ฝึกสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกและการแข่งขันจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractalternative Attentional focus is what athletes and researchers are interested in and studies are ongoing. The purpose of this study was to determine and compare the effects of attentional focus on sprint performance in road race cyclists. Seventeen road cyclists volunteered for the study (x̄ ± SD; age = 39.76 ± 7.10 years; cycling experience = 6.24 ± 1.52 years; VO2max = 53.41 ± 9.97 ml.kg-1.min-1). Participants performed a 30 second sprint Wingate testing under three attentional conditions (control, internal and external focus of attentions). The obtained data were analyzed in terms of means, standard deviations, one-way ANOVA with repeated measures and multiple comparison by the Bonferroni. The statistical significance of this study was accepted at p < .05 level. The results indicated that external focus significantly enhanced sprint performance (average speed, average cadence, average power and 30 second sprint distance) better than internal focus (p = 0.01). But no differences were found in level of attentional focus, level of fatigue, pedal force and maximum heart rate. In conclusion, an external focus has been shown to result in superior performance of a 30 second sprint to finish line for road cyclists compared to an internal focus. Therefore, road race cyclists and coaches can apply the attentional focus in both training and competition to be successful effectively.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.837
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การขี่จักรยาน
dc.subject ความตั้งใจ
dc.subject Cycling
dc.subject Attention
dc.subject.classification Health Professions
dc.title ผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน
dc.title.alternative Effects of attentional focus on sprint performance in road race cyclists
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.837


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record