DSpace Repository

ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.author ลักษณ์พร ภาณุเกษมสิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:11:04Z
dc.date.available 2022-07-23T03:11:04Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79346
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ในการเป็นมะเร็งและสิ้นสุดการรักษามาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 7 คน โดยมีช่วงอายุ  58 - 67 ปี ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลักคือ 1) ประสบการณ์เดิมที่นำไปสู่การเป็นจิตอาสา ประกอบด้วย ความเข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้ป่วยมะเร็ง ความรู้ความเข้าใจที่ตกผลึกจากประสบการณ์ตรง และความเข้าใจเชิงปรัชญาในการมองโลกและชีวิต 2) การเข้าสู่ชมรมจิตอาสาเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง ประกอบด้วย การแสวงหาข้อมูลด้วยตนเอง และการได้รับข้อมูลจากผู้อื่นและ 3) สิ่งที่เอื้อให้เป็นจิตอาสาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กิจกรรมที่ทำได้รับการสนับสนุนจากสังคม การเปลี่ยนแปลงทางบวกในตนเอง และการมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในการทำจิตอาสาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง โดยการวิจัยนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งมากขึ้น โดยสามารถนำผลการวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้มีความครอบคลุมทั่วถึงและเป็นระบบ รวมถึงจัดโครงการเพื่อพัฒนาอบรมผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractalternative This qualitative research aimed to study the psychological experiences of cancer survivor peer supporters. The interpretative phenomenological analysis (IPA) method was employed in this research. Participants were 7 subjects, cancer survivor peer supporters who had completed cancer treatment at least 1 year. Aged between 58 - 67 years. The study resulted in 3 main themes: 1) Cancer experiences lead to be a volunteer as a peer supporter which included understanding thoughts and feelings of cancer patients, the knowledge that is crystallized from first-hand experience, and philosophical understanding of the world and life. 2) Approach to source information (cancer patient club) which included self-seeking information. and receiving information from others. And 3) Things that support ongoing volunteer peer supporters which included activities that can be supported by society, positive changes in oneself, and the availability of resources to support cancer patients. This research provides a greater understanding of the psychological experience of cancer survivor peer supporters. The research can be used to develop broad and systematic support to help cancer patients. Including organizing a program to develop, train supporters to help cancer patients effectively.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.670
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject มะเร็ง -- ผู้ป่วย
dc.subject ผู้ป่วย -- แง่จิตวิทยา
dc.subject จิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject Cancer -- Patients
dc.subject Patients -- Psychological aspects
dc.subject Counseling psychology
dc.subject.classification Psychology
dc.title ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง
dc.title.alternative Psychological experience of cancer survivor peer supporters
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.670


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record