DSpace Repository

กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทระ คมขำ
dc.contributor.author ชนะใจ รื่นเริง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:52:58Z
dc.date.available 2022-07-23T03:52:58Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79360
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract งานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับตะโพน ศึกษาประวัติชีวิตครูภูมิใจ รื่นเริงและศึกษากรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบด้วย การศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จากเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์และหนังสือที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดุริยางค์ไทยและศิลปินผู้มีความรู้เกี่ยวกับตะโพน รวมทั้งทำการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมในการสังเกตการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 15 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ตะโพนคือเครื่องหนังที่ใช้บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากกลองโบราณของอินเดีย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานโดยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตัวกลองขึงด้วยหนังสองหน้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้ามัดประมาณ 8 นิ้ว หน้ารุ่ย 9 นิ้ว ความยาว 19 นิ้ว ความสูง 21 นิ้ว ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่นักดนตรีไทยต่างสักการะบูชา เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่เปรียบดังสัญลักษณ์แทนองค์พระปรคนธรรพ เทพสังคีตาจารย์แห่งดนตรี ในสมัยโบราณ นิยมนำไม้กุ่ม ไม้ขนุน ซึ่งถือเป็นไม้มงคลมาทำเป็นหุ่นตะโพน จากการศึกษาด้านประวัติชีวิต ทำให้ทราบว่าครูภูมิใจ รื่นเริงเป็นช่างทำระนาดและกลองไทยทุกชนิด ได้รับสืบทอดภูมิปัญญาช่างจากครูเสน่ห์ ภักตร์ผ่อง กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมหุ่นตะโพน การเตรียมไส้ละมาน การตัดหนังเรียด การเตรียมหน้าตะโพน การแกะสลักเท้าตะโพนและการขึ้นตะโพน ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในกรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ คือ วิธีการร้อยหนังเรียด วิธีการถักไส้ละมาน สัดส่วนของหุ่นตะโพนและการสาวตะโพนด้วยการใช้หัวเข่าเป็นอวัยวะค้ำยันหุ่นกลอง
dc.description.abstractalternative This thesis presents context of Ta Phon, biography of Khru Poomjai Ruenroeng and procedure of making Ta Phon by Khru Poomjai Ruenroeng. With the use of qualitative researching methods, the outcomes illustrate that Ta Phon, categorized as a kind of drums played in Thai’s Pi Phat ensemble, is presumed to be derived from India. There are evidences showing Ta Phon’s existance since Sukhothai era. The two-faced drum has diameters of eight and nine inches for small and large sides respectively. It is twenty-one inches in height. Importantly, Thai musicians pay considerable respects to Ta Phon. The drum is mentally meaningful because it is a symbol of a Thai music god, Phra Para Khon Thub. In the ancient time, specific types of wood such as Jackfruit and sacred garlic pear were mostly transformed into Ta Phon’s body since they were known as auspicious plants. The procedure of making Ta Phon by Khru Poomjai Ruenroeng consists of six steps which are the preparation of Ta Phon’s body, the preparation of Sai La Man (handmade twisted leather), the process of cutting cowhide into a rope called Nang Riad, the preparation of drum faces, process of carving Ta Phon’s stand and the process of assembling the drum. The study reveals three factors affecting sound quality of Ta Phon’s that are the evenness of the cowhide to apply as drum faces, the space in drum body and how well the drum skin is tightened. There are four identities found towards the procedure. (The unique ways to equip Nang Riad and Sai La Man, the exact scale of drum’s body and the step of tightening the drum with knees.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.614
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ภูมิใจ รื่นเริง
dc.subject เครื่องดนตรีไทย -- การออกแบบและการสร้าง
dc.subject ตะโพน
dc.subject Poomjai Ruenroeng
dc.subject Musical instruments, Thai -- Design and construction
dc.subject Tapone
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง
dc.title.alternative Procedure of making ta phon by Khru Poomjai Ruenroeng
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.614


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record