Abstract:
การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าเป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์มากกว่าปริมาณกิจกรรม การพัฒนาการท่องเที่ยวแนวเนิบช้าจำเป็นต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับแหล่งท่องเที่ยว การออกแบบเรขศิลป์จึงถือเป็นกระบวนการสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า 2. เพื่อระบุอัตลักษณ์จังหวัดตรัง 3. เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าที่เหมาะสมกับการสื่อสารอัตลักษณ์ของกรณีศึกษาจังหวัดตรัง วิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ชุดจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 9 ท่าน โดยจะนำผลงานที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practice) ที่ผ่านการคัดเลือกมาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดตรังมีอัตลักษณ์12 อัตลักษณ์ โดยแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง ประกอบไปด้วยผลจากการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์ทางเรขศิลป์ ดังนี้ คือ 1) ชนิดของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ Pictorial name mark 2) ประเภทของสัญญะควรเป็นแบบ Icon 3) แนวโน้มของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ Nature-inspired 4) ทฤษฎีเกสตอลท์ที่ควรใช้ คือ มีความสมมาตรแบบ Reflective มี Figure ground แบบ stable และมีการใช้หลักของ Proximity ร่วมด้วย 5) องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบอื่น 6) แบรนด์อาคิไทป์แบบนักปราชญ์ 7) แนวโน้มของเรขศิลป์แบบ Nature-inspired 8) แนวโน้มของเว็บไซต์แบบ Nature and sustainability 9) รูปแบบของเว็บไซต์เป็นการจัดข้อมูลสำคัญมากไปน้อย โดยคำตอบที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ ซึ่งจะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าในจังหวัดตรังให้เป็นที่รู้จัก