Abstract:
การวิจัยนี้เป็น การวิจัยแบบผสมผสานที่มีวิธีการระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ควบคู่กับการสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา และสร้างแนวทางการสร้างสรรค์สิ่งทอจากนวัตกรรมสิ่งทอจากสิ่งไร้มูลค่าทางการเกษตร ได้แก่ เศษไผ่ และไหมข้าวโพดด้วยแนวคิดนวัตกรรมสิ่งทอ, แฟชั่นไลฟ์สไตล์, การออกแบบข้ามวัฒนธรรม, ทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นชาวไทลื้อ(Circular Economy) 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอชาวไทลื้อสู่ความเป็นสากล ด้วยแนวคิดการออกแบบข้ามวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ วิธีการดำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย(Delphi Technique) 1) สร้างสรรค์สิ่งทอด้วยนวัตกรรมสิ่งทอจากงานวิจัย ได้แก่ เศษไผ่, ไหมข้าวโพด และฝ้าย ในอัตราส่วน 2:2:6 และนำไปเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ด้วยแบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์เพื่อหาความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ 2) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่น, สินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอ จำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำผลที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งด้วยเทคนิคเปเปอร์ดอลล์ดาต้าเซท(Paper Doll Data Set) เพื่อหาองค์ประกอบทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภค และ 3) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มประชากรคนเมืองเจนเนอเรชั่นวาย (Gen Y) อายุ 22 - 42 ปี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานครของประเทศไทย จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค ได้แก่ ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค, ด้านวิถีการดำเนินชีวิต, ด้านพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่น, ด้านพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอ จากการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล พบว่า 1) สิ่งทอต้นแบบ ประกอบด้วย เศษไผ่, ไหมข้าวโพด และฝ้าย ในอัตราส่วน 2:2:6 มีความเหมาะสมสำหรับการผลิตเป็นสินค้าแฟชั่นไฟล์สไตล์ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดการออกแบบข้ามวัฒนธรรมจากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นสู่ความเป็นสากล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) นวัตกรรมสิ่งทอ (Textile Innovation) 2.2) ระดับนวัตกรรมการออกแบบเพื่อความยั่งยืน(Levels Of Design Innovation For Sustainability) 2.3) กลุ่มเป้าหมาย(Target) ได้แก่ 2.3.1) กลุ่มผู้นำแฟชั่นกับทุนวัฒนธรรมสิ่งทอแบบภักดีต่อสิ่งแวดล้อม 2.3.2) กลุ่มผู้นิยมกระแสแฟชั่นกับทุนวัฒนธรรมแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2.3.3) กลุ่มผู้นิยมแฟชั่นเรียบง่ายกับทุนวัฒนธรรมสิ่งทอแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2.4) วัฒนธรรม (Culture) และ 2.5) ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์(Fashion and lifestyle products) ได้แก่ 2.5.1) สินค้าแฟชั่น 2.5.2) สินค้าไลฟ์สไตล์ และ 2.5.3) แนวโน้มกระแสนิยม(Trend)