DSpace Repository

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.author วิภาดา มงคลเพ็ชร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:55:07Z
dc.date.available 2022-07-23T03:55:07Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79394
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทสมองระบบประสาทและสมอง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การจัดการตนเอง ภาวะซึมเศร้า อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การสนับสนุนทางสังคม กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ  ผู้ป่วยเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่ได้รับการรักษาจากแพทย์โดยการผ่าตัดทางระบบประสาทและสมอง และได้รับการรักษาด้วยการใช้ยากันชัก ที่มารับการตรวจในแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันประสาทวิทยาจำนวน 110 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย แบบประเมินการจัดการตนเอง แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยากันชัก ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์หาความเที่ยงโดยการใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 0.73, 0.70, 0.75, 0.90, 0.94 และ 0.78   ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ Spearman rank correlation ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ร้อยละ 77.3 ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง มีความร่วมมือในการใช้ยากันชักอยู่ในระดับดี 2. การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย (r = -.340) และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (r = -.242) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การจัดการตนเอง ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this descriptive study were to study adherence to epileptic drug and factors related to adherence to epileptic drug in patients post neurosurgeries including illness Perception, self-management, depression, adverse drug reaction and social support. The sample consisted of 110 patients post neurosurgeries both male and female who attended at surgical outpatient department of Ramathibodi hospital and Neurological institute of Thailand. The research instruments were a demographic questionnaire, illness perception questionnaire, self-management questionnaire, depression questionnaire, adverse drug reaction questionnaire, social support questionnaire and adherence to epileptic drug questionnaire. All instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of the instruments tested by Cronbach’s Alpha were 0.73, 0.70, 0.75, 0.90, 0.94 and 0.78 respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, min, max and Spearman rank correlation. The major findings were as followed: 1. Most of patients post neurosurgeries showed high level of medication adherence (77.3 %) 2. Illness perception (r = -.340) and adverse drug Reaction (r = -.242) were negatively significant related to medication adherence at the level of .05 3. Self-management, depression and social support were not significant related to medication adherence at the level of .05
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.763
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย
dc.subject สมอง -- ศัลยกรรม
dc.subject ระบบประสาท -- ศัลยกรรม
dc.subject ยาแก้ชัก
dc.subject การดูแลหลังศัลยกรรม
dc.subject Patient participation
dc.subject Brain -- Surgery
dc.subject Nervous system -- Surgery
dc.subject Anticonvulsants
dc.subject Postoperative care
dc.subject.classification Nursing
dc.title ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง
dc.title.alternative Factors related to adherence to epileptic drug in patients post nuerosurgeries
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.763


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record