Abstract:
เชื้อโควิด 19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 15 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำมาข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการของ van Manen
ผลการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แบ่งเป็น 6 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้
1. ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย1.1) สวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนเข้าห้องผู้ป่วย 1.2) วางแผนให้การพยาบาลแบบเบ็ดเสร็จตามรอบเวลา1.3) เสร็จสิ้นการทำงาน ถอดชุดป้องกันอย่างถูกวิธี และ 1.4) ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดใหม่ก่อนลงเวรหรือกลับบ้าน 2. ดูแลด้วยใจ เอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือทุกเรื่อง ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย2.1) ดูแลด้านร่างกายให้สุขสบาย 2.2) ติดตามอาการที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 2.3) ให้กำลังใจในการรักษา 2.4) สิ่งใดที่ปรารถนา เต็มใจจัดหามาให้ 2.5) ใส่ใจตรวจสอบและประสานสิทธิ์การรักษา 2.6) เมื่อผู้ป่วยมีปัญหา ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2.7) จัดการช่วยเหลือผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้าย 3. มีปัญหาต้องแก้ไข เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 3.1) บริหารจัดการเตียงให้เพียงพอกับผู้ป่วยโควิดแต่ละประเภท 3.2) อัตรากำลังพยาบาลไม่เพียงพอ ขออัตรากำลังเสริมเข้าช่วย 3.3) ต่างชาติต่างภาษา เจรจาวุ่นวาย หาตัวช่วยคลี่คลาย สื่อสารจนเข้าใจ และ 3.4) อึดอัดใจ ทีมไม่เข้าดูคนไข้ เจรจาให้เข้าใจทำงานกันได้ราบรื่น 4. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1 ผู้บริหารเห็นความสำคัญ สร้างขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน 4.2 เพื่อนร่วมงานให้กำลังใจ ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี 4.3 ผู้ป่วยและญาติ ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ 4.4 บุคคลภายนอกให้กำลังใจในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม และ 4.5 การได้บรรจุเป็นข้าราชการและเงินค่าเสี่ยงภัย เป็นขวัญกำลังใจที่สำคัญ 5. ผลทางลบจากการทำงานในสถานการณ์โควิด ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 5.1 ใส่ชุด PPE ร้อนและอึดอัด ต้องอดทน มีผลลบต่อสุขภาพ 5.2 เหนื่อย เพลีย เครียด ทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน และ 5.3 ทำงานเสียสละ แต่สังคมรอบข้างแสดงความรังเกียจ 6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการดูแลผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย 6.1 เพิ่มพูนประสบการณ์ เติมเต็มความรู้ และ6.2 ภูมิใจในวิชาชีพและช่วยผู้ป่วยให้หายกลับบ้านได้ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่างๆเพื่อการปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 หรือโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต