dc.contributor.advisor |
ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง |
|
dc.contributor.author |
พีรดา บูรณะบัญญัติ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T03:59:12Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T03:59:12Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79438 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
พื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยจึงได้มีนโยบายต่างๆเพื่อดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ได้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนทางภาษีให้กับกิจการที่เข้ามาลงทุน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาของการกำหนดรูปแบบมาตรการทางภาษีที่ให้กับกิจการประเภทที่ต้องการเข้ามาลงทุนในระยะยาว ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยเฉพาะเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีมูลค่าสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งแนวทางการแก้ไข รวมถึงศึกษารูปแบบของมาตรการทางภาษีของต่างประเทศได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศไอร์แลนด์และประเทศฟิลิปปินส์เพื่อนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุดทั้งนี้ ผู้วิจัยพบปัญหาจากการให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีในประเทศไทยที่มุ่งเน้นการออกแบบมาตรการทางภาษีคือการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ Tax holiday ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีความไม่เหมาะสม และไม่เกิดประโยชน์และตอบโจทย์ต่อกิจการที่เข้ามาลงทุนในระยะยาว ใช้เงินลงทุนสูงและเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้เป็นการออกแบบมาตรการทางภาษีที่ดึงดูดนักลงทุนระยะสั้น กิจการประเภทการผลิตเพื่อส่งออกและไม่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในประเทศไทย รวมถึงเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลง ซึ่งในปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้และเริ่มยกเลิกมาตรการดังกล่าวแล้วจากปัญหาที่พบผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของต่างประเทศที่ใช้มาตรการทางภาษีซึ่งมีความแตกต่างกันว่าสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้อย่างไร จึงมีข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขโดยปรับปรุงมาตรการทางภาษีของประมวลรัษฎากรและเพิ่มเติมมาตรการที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริมและดึงดูดกิจการที่ต้องการเข้ามาลงทุนอย่างแท้จริง |
|
dc.description.abstractalternative |
To develop the economy and society of Thailand, various policies are in place to attract and promote investment in the country. In this regard, the Office of Thailand Board of Investment has issued tax incentives for businesses to invest. The objective of this thesis is to study the problems of formulation of tax measures for businesses that aim to invest in the long term, utilize advanced technology especially technology in the era of Industry 4.0 and truly high value, as well as solutions. Furthermore, this study aims to investigate the forms of foreign tax measures such as Belgium, Ireland, and the Philippines to compare and analyze to create the most beneficial solutions for Thailand. However, the researcher found a problem from the tax privileges and benefits in Thailand that focus on the design of tax measures, namely corporate income tax exemption or tax holiday by the Thailand Board of Investment is not appropriate. Also, it is not beneficial and does not meet the demand of the businesses that come to invest in the long term, use high investment and advanced technology. Consequently, these tax measures are designed to attract short-term investors, export businesses and not to encourage investment efficiency to develop new technologies in Thailand, including technology in the age of Industry 4.0. As a result, this measure has reduced the competitiveness of Thailand, which most developed countries recently do not introduce and have begun to cancel such measures. Regarding the problems encountered, the researcher has analyzed and compared the different tax measures of foreign countries, which how they can attract foreign direct investment. Therefore, there are suggestions and solutions by improving the tax measures in the Revenue Code and adding useful measures to be applied for maximum efficiency in promoting and attracting truly invested businesses. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.479 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
บรรษัทข้ามชาติ |
|
dc.subject |
สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
|
dc.subject |
International business enterprises |
|
dc.subject |
Tax incentives |
|
dc.title |
สภาพปัญหาการประกอบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนกับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี |
|
dc.title.alternative |
Issue in relation to the operation of multi-national company with tax incentives under the Investment Promotion Act and the non-incentivized company |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
กฎหมายการเงินและภาษีอากร |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.479 |
|