DSpace Repository

การเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นระหว่างวัสดุนวัตกรรมไทยกับวัสดุนำเข้าบนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง: การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมที่มีการจัดกลุ่มด้วยวิธีสุ่ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริพร ส่งศิริประดับบุญ
dc.contributor.advisor พสุธา ธัญญะกิจไพศาล
dc.contributor.author ดลหทัย สิทธิพงษ์พร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:01:02Z
dc.date.available 2022-07-23T04:01:02Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79460
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการยึดติดทางคลินิกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินระหว่างวัสดุชนิดขุ่นแอลเอเอส (LAS-opaque) กับวัสดุคลินโปร™ (Clinpro™) การศึกษาทางคลินิกครั้งนี้ออกแบบการทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบภายในบุคคลเดียวกันและอยู่ในขากรรไกรเดียวกัน โดยทำการศึกษาในเด็กจำนวน 56 คน อายุ 6-9 ปี ในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งจำนวน 86 คู่ฟัน โดยสุ่มให้ฟันข้างหนึ่งเคลือบด้วยวัสดุชนิดขุ่นแอลเอเอสและอีกข้างหนึ่งเคลือบด้วยวัสดุคลินโปร™ ติดตามอัตราการยึดติดของวัสดุที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน จำแนกการยึดติดเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ การยึดติดอยู่ทั้งหมด การยึดติดบางส่วน และการหลุดทั้งหมด เปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุทั้งสองด้วยสถิติแม็กนีมาร์ (McNemar test) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าอัตราการยึดติดบริเวณด้านบดเคี้ยวของวัสดุทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน โดยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นแอลเอเอสมีอัตราการยึดติดอยู่ทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 75.6 และ 75.9 ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ ส่วนวัสดุคลินโปร™ มีอัตราการยึดติดเท่ากับร้อยละ 86.6 และ 77.2 ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ สรุปผลการศึกษาอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นแอลเอเอสและวัสดุคลินโปรมีอัตราการยึดติดไม่แตกต่างกันที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน
dc.description.abstractalternative The object of this study was to compare clinical retention rate of Thailand innovative opaque sealant (LAS-opaque) and imported sealant (Clinpro™). This split-mouth design clinical trial was conducted in a total of 56 children ages 6-9 years. Eighty-six pairs of erupted first permanent molars were recruited and randomized, with half receiving LAS-opaque and half Clinpro™. The retention of the sealant was evaluated at 6 and 12 months after treatment, and recorded as total retention, partial retention or total loss. McNemar test was used to evaluate differences in retention rates between two groups. The result demonstrated that there was no statistical difference in retention rates between groups at 6 and 12 months follow up (p > 0.05). In LAS opaque sealant group, 75.6% and 75.9% showed total retention at 6 and 12 months respectively. While Clinpro™ sealant group showed 86.6% and 77.2% at 6 and 12 months respectively. In conclusion, there was no significant difference in retention rates between LAS-opaque sealant and Clinpro™ at 6 and 12 months follow up.        
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.808
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject เคลือบฟัน
dc.subject การยึดติดทางทันตกรรม
dc.subject สารยึดติดทางทันตกรรม
dc.subject ฟันผุ
dc.subject Dental enamel
dc.subject Dental bonding
dc.subject Dental adhesives
dc.subject Dental caries
dc.subject.classification Dentistry
dc.title การเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นระหว่างวัสดุนวัตกรรมไทยกับวัสดุนำเข้าบนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง: การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมที่มีการจัดกลุ่มด้วยวิธีสุ่ม
dc.title.alternative A comparative study of retention rate between Thailand innovative and imported opaque dental pit and fissure sealant: a randomized controlled trial
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทันตกรรมสำหรับเด็ก
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.808


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record