dc.contributor.advisor |
สุนทร ศุภพงษ์ |
|
dc.contributor.author |
อำนวยพร ใจตื้อ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T04:15:31Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T04:15:31Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79544 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนในผู้ประกอบอาชีพแปรรูปไม้ในจังหวัดแพร่ประเทศไทย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ในคนงานแปรรูปไม้จำนวน 236 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการตรวจร่างกายทางระบบประสาทด้วย Monofilament ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Binary logistic regression
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบความชุกของอาการผิดปกติที่มือและแขน ร้อยละ 74.2 เมื่อแยกอาการผิดปกติตามระบบของอาการผิดปกติที่มือและแขน พบอาการระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง ระบบหลอดเลือด และระบบประสาท คือ ร้อยละ 60.6, 36.4 และ 16.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติที่มือและแขนมากขึ้น ได้แก่ การใช้ฝ่ามือกระแทกชิ้นงานระหว่างทำงาน เพศ อายุ การสูบบุหรี่ การสัมผัสแรงสั่นสะเทือนติดต่อกันต่อเนื่องมากกว่า 20 นาที และ อายุงาน (ปี)
ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการสวมถุงมือลดแรงสั่นสะเทือน และหลีกเลี่ยงการใช้ฝ่ามือกระแทกชิ้นงานหรือดันชิ้นงาน มีช่วงเวลาพักและการหมุนเวียนสลับงานเพื่อลดการสัมผัสเครื่องมือ อีกทั้งควรจัดโปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ให้กับคนงาน |
|
dc.description.abstractalternative |
The aim of this study was to determine the prevalence of HAVS and the associated factors among carpenters in Phrae Province, Thailand. This cross-sectional study consisted of 236 carpenters employed in wood processing plants. The data were collected by using a questionnaire and monofilament testing, and analyzed by using descriptive statistics and binary logistic regression.
The results showed overall prevalence of HAVs was 74.2%. The prevalence of musculoskeletal, vascular, and neurological disorders was 60.6%, 36.4%, and 16.7%, respectively. Factors associated with HAVs were the pushing hand posture, gender, age, current smoking, continuously working more than 20 minutes, and length of exposure time (year).
Researcher suggests that anti-vibration gloves should be provided. The avoidance of pushing hand posture. More frequent break time and job rotation should also be applied. Moreover, a health promotion program, especially smoking cessation program, should be launched. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.553 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม |
|
dc.subject |
บาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป |
|
dc.subject |
Industrial safety |
|
dc.subject |
Overuse injuries |
|
dc.title |
ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนในผู้ประกอบอาชีพแปรรูปไม้ในจังหวัดแพร่ |
|
dc.title.alternative |
Prevalence of hand – arm vibration syndrome and related factors among carpenters in Phrae Province ,Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.553 |
|