DSpace Repository

การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบไอแอลดีที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา
dc.contributor.author ศศิพักตร์ นิธิวรนันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:15:50Z
dc.date.available 2022-07-23T04:15:50Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79565
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ที่มาของการศึกษา: วัคซีนโควิด-19 มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และการเกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรง ปัจจุบันข้อมูลการศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้ม ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบไอแอลดียังมีไม่มาก วิธีการศึกษา: ตรวจระดับแอนติบอดีและภูมิคุ้มกันแบบพึ่งเซลล์ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบไอแอลดีที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันในรพ.จุฬาลงกรณ์  ศึกษาผลข้างเคียง การดำเนินโรค รวมถึงการติดเชื้อโควิด-19 ภายหลังได้รับวัคซีน ChAdOx1 ครบ 2 เข็ม ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 44 ราย อายุเฉลี่ย 63.8 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคปอดอักเสบไอแอลดีที่เกี่ยวข้องกับโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับยาเพรดนิโซโลนขนาดเฉลี่ย 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน หลังได้รับวัคซีน ChAdOx1 ครบ ที่ 4 สัปดาห์ผู้ป่วย 86% ตรวจพบแอนติบอดี (anti-S IgG) ต่อเชื้อโควิด-19 ที่ 12 สัปดาห์ผู้ป่วย 60.7% มีการตอบสนองแบบพึ่งเซลล์ต่อเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยที่ได้รับการปรับยากดภูมิคุ้มกันตามคำแนะนำของสมาคมโรครูมาติซั่มมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการปรับยา ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการไข้ ผู้ป่วย 3 รายเกิดการกำเริบของโรคปอดอักเสบไอแอลดี ผู้ป่วย 1 รายติดเชื้อโควิด-19  สรุปผลการศึกษา: วัคซีน ChAdOx1 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบไอแอลดีที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันได้ และมีความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้
dc.description.abstractalternative Background: COVID-19 vaccine can prevent infection and severe pneumonia related to SAR-CoV-2 in general population. Data of immunogenicity, safety and effectiveness of viral vector vaccine in interstitial lung disease (ILD) patients are limited. Methods: Immunogenicity of ChAdOx1 nCoV-19 vaccine in ILD patients receiving immunosuppressive therapy (IMS) was assessed by measuring anti-spike immunoglobulin (anti-S Ig) and T-cell response against SAR-CoV-2. Demographic data, side effects, clinical course and incidence of COVID-19 infection were collected. Results: Forty four ILD patients with mean age of 63.8 were recruited. Autoimmune connective tissue diseases were the most common causes of ILD. Most of them received prednisolone with a median dose of 7.5 mg/day. At 4 weeks after completing 2 doses of ChAdOx1 nCoV-19, 86% mounted anti-S Ig. At 12 weeks, 60.7% had T-cell response. No difference in immunogenicity between patients whom were modified IMS according to American College of Rheumatology’s suggestion and who were not. Common side effect was fever. Three patients had ILD flare-up and one patient had COVID-19 infection. Conclusions: ChAdOx1 nCoV-19 vaccine was immunogenic and safe in ILD patients receiving IMS.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1158
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
dc.subject วัคซีนโควิด-19
dc.subject ปอดอักเสบ -- ผู้ป่วย
dc.subject Immune response
dc.subject COVID-19 vaccines
dc.subject Pneumonia -- Patients
dc.title การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบไอแอลดีที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน
dc.title.alternative Immunogenicity and safety of anti-SARS-CoV-2 vaccines (COVID-19 vaccines) in interstitial lung disease (ILD) patients with immunosuppressive therapy
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1158


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record