dc.contributor.advisor | ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ | |
dc.contributor.author | วรเมธ ยอดบุ่น | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | |
dc.coverage.spatial | ไทย | |
dc.coverage.spatial | เชียงราย | |
dc.date.accessioned | 2008-09-04T08:22:00Z | |
dc.date.available | 2008-09-04T08:22:00Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.isbn | 9741418647 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7967 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทาง ชาติพันธุ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่หมู่บ้านท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีความเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ และแนวคิดการท่องเที่ยว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมี เทคนิควิธีที่สำคัญคือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสำคัญ รวมถึงการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า บ้านรวมมิตรประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง อาข่า ม้ง ลีซู แต่ละกลุ่มก็อัตลักษณ์ดั้งเดิมเป็นของตัวเองที่ได้รับมาจากการอบรมสั่งสอนของครอบครัว ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อการท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตลักษณ์หลายๆ อย่างของ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นภาษา การแต่งกาย ค่านิยม อาชีพ รวมถึงวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในเรื่อง ภาษานั้นชาวบ้านทุกกลุ่มชาติพันธุ์จะใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นสื่อกลางในการพูดจากัน รวมถึงเมื่อสื่อสาร กับคนไทยพื้นราบ ด้านการแต่งกายก็มีแนวโน้มว่าชาวบ้านทุกกลุ่มชาติพันธุ์ จะแต่งกายเหมือนกับคนไทย พื้นราบมากขึ้นในชีวิตประจำวัน สำหรับชุดประจำเผ่าจะเก็บไว้ในวันสำคัญของชุมชน เช่น วันอาทิตย์ที่ ต้องเข้าโบสถ์ วันคริสต์มาส หรือวันช้างของหมู่บ้าน นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังทำให้เกิดการแต่งงาน ข้ามกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น กล่าวได้ว่า การท่องเที่ยวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เข้ากับบริบทการท่องเที่ยวและบริบทอื่นๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชน แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ สำนึกของความเป็นชาติพันธุ์ที่ยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนของมุมโลก และเมื่อได้มี การติดต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลากหลายกลุ่ม ด้านหนึ่งมีผลทำให้อัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชัดเจนมาก ขึ้น ในแง่ของการแบ่งแยกว่าใครเป็นกะเหรี่ยง ใครเป็นอาข่า ใครเป็นม้ง อีกด้านหนึ่งก็มีผลให้เกิดการผสม กลมกลืนระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆ ด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | The main objective of the thesis, entitled Ethnic Identity in the Context of Tourism : a case study of Bann Raummit, Muang District, Chiang Rai Province, was to investigate ethnic identity and affects of tourism. The main concepts and theories used in this research were ethnicity and tourism. For collecting of the data, qualitative research methods such as participant observation, key informant interviews and in-depth interviews were employed. The research have demonstrated that Baan Raummit consist of many ethnic groups such as Karen, Akha, Hmong, Lisu and so on. Socialization provides basic ethnic identity to all groups. Tourism leads people of these ethnic groups to transform their ethnic identity in various aspects such as language, costume, value and way of life. Villagers use Northern Thai dialect as a medium to communicate with other ethnic groups and with the local Thai. Actually, villagers wear normal costume similar to that of Thai people, but on special occasions, they wear traditional ethnic costume such as on Sunday, Christmas day and Chaang day. Generally, tourism have changed people economic, political, social and cultural life of Baan Raummit on the whole, Tourism leads to various changes in people ethnic identity, but the consciousness of ethnic origin does not change. Social interaction among ethnic groups on the one hand makes clear ethnic identity of each grops, i.e. we know who is Karen, Akha or Hmong, on the other hand it also paves the way to assimilation. | en |
dc.format.extent | 4482939 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.198 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อัตลักษณ์ -- แง่สังคมวิทยา | en |
dc.subject | ชนกลุ่มน้อย -- ไทย -- เชียงราย | en |
dc.subject | การท่องเที่ยว -- ไทย | en |
dc.title | อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีหมู่บ้านรวมมิตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย | en |
dc.title.alternative | Ethnic identity in the context of tourism : a case study of baan raummit, muang district, Chiang Rai province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | มานุษยวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.198 |