DSpace Repository

การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู : การประยุกต์ใช้โมเดลทวิองค์ประกอบพหุกลุ่ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor กนิษฐ์ ศรีเคลือบ
dc.contributor.advisor สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร
dc.contributor.author วิสรุต สุวรรณสันติสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:31:25Z
dc.date.available 2022-07-23T04:31:25Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79682
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์เป็นความสามารถของบุคคลหนึ่ง ๆ ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภาพรวมทั้งระบบกายภาพ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยประยุกต์ใช้การนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ผ่านการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตีความ วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้และสรุปเป็นสารสนเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน แบ่งวิธีการดำเนินวิจัยออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และระยะที่ 2 การวิเคราะห์ระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน ตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้เป็น นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีจำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูใน 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์ และองค์ประกอบด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ โดยเครื่องมือประเมินนั้นต้องมีการกำหนดสถานการณ์ รูปแบบเครื่องมือที่ใช้ ลักษณะของข้อคำถามและรูปแบบของตัวลวงในแต่ละองค์ประกอบย่อยของความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์  2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าเครื่องมือมีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .50-1.00 ความตรงเชิงโครงสร้างพบว่า โมเดลการวัดความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= (18, N = 310) = 41.377, p = .001, CFI= .892, TLI = .832, RMSEA = .065, SRMR = .075) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานโมเดลเฉพาะเจาะจง (specific model) ด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง .103-.517 ด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้อยู่ระหว่าง .114-.399 และในโมเดลทั่วไป (general model) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง .122-.487 และด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้อยู่ระหว่าง .125-.601 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การทำนายอยู่ระหว่าง .120-.466 และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีการหาค่า KR-20 เท่ากับ 0.71 ดังนั้นเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่สร้างขึ้นจึงมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง  3. นักศึกษาครูที่เรียนต่างสาขาวิชากันมีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์แตกต่างกัน (F(1, 308) = 118.612,  p < .001) โดยนักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษามีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูสาขาวิชาอื่นทุกสาขาวิชา ส่วนนักศึกษาครูที่เรียนต่างชั้นปีกันก็มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์แตกต่างกัน (F(4, 305) = 10.140,  p < .001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่แล้ว พบว่า นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 นักศึกษาครูที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ไม่แตกต่างกัน (F(5, 304) = .828, p = .531) และนักศึกษาครูที่เคยมีประสบการณ์เข้ารับการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูที่ไม่เคยเข้ารับการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ (F(1, 308) = 56.369, p < .001) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
dc.description.abstractalternative Geographic literacy is a people’s ability to relate the relationship geographic knowledge as well as the physical system and the impact of human activities. By applying the geographic knowledge to observe and collecting data for geo-interpretation, analyze the collected data and summarize it as information. The objectives of this research were 1). To design and develop an assessment tool for measuring geographical literacy of student teachers. 2) For analyze and compare geographical literacy of student teachers from different backgrounds. The research was divided into two phases. The first phase was to develop and validate geographic literacy assessment tools. The second phase was to analyze geographic literacy levels of student teacher from different backgrounds. The sample were 310 student teachers. Data collected by assessment tools and then analyzed by using descriptive statistic and Factorial ANOVA. The research findings were as followed: 1. The development of geographic literacy assessment tools in 2 components; the geographical knowledge component; and the components of applying geographic knowledge. The assessment tool format had to determine the situation, used characteristics of the questions and the patterns of misconception in each sub-component.  2. The results of validating geographic literacy assessment tools. By validating a content validity that experts are determined consistency of the content (IOC = .50-1.00). Validating construct validity using confirmatory factor analysis found that the measurement model is fitted with the empirical data. (Chi-square (18, N = 310) = 41.377, p = .001, CFI= .892, TLI = .832, RMSEA = .065, SRMR = .075) The values ​​of the standardized factor loading for the specific model in terms of geographic knowledge ranged between .103-.517 and applied geographic knowledge between .114-.399. In the general model. The standardized factor loading for geographic knowledge ranged from .122-.487, and applied geographic knowledge was between .125-.601, and the prediction coefficient was between .120-.466. and verification of reliability by KR-20 of 0.71. Therefore, the quality of geographic literacy assessment tools can be used correctly. 3. Student teachers who learn in different major have different level of geographic literacy, F(1, 308) = 118.162, p < .001. When pairwise comparison, it was found that the social studies student teachers had a higher level of geographic literacy than the teacher students in all other major. As for the student teachers of different grades, they had different levels of geographic literacy, F(4, 305) = 10.140, p < .001.  When pairwise comparison, it was found that 5th Year student teachers had higher level of geographic literacy than second year and third year student teachers. The student teachers of different domiciles had the same level of geographic literacy, F(5, 304) = .828, p = .531 and student teachers who have had experience attending the training or geography seminar had a higher level of geographic literacy than the student teachers who had never attended the training or seminar on Geography, (F(1, 308) = 56.369, p < .001)
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.888
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การสำรวจองค์ความรู้
dc.subject นักศึกษาครู -- การประเมิน
dc.subject Student teachers -- Evaluation
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู : การประยุกต์ใช้โมเดลทวิองค์ประกอบพหุกลุ่ม
dc.title.alternative Development of digital tool for assessing student teachers' geographical literacy : application of multigroup bi-factor model
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.888


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record