DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้งานและความตั้งใจบอกต่อของแอปพลิเคชันการตลาดค้าปลีกแบบพันธมิตรออนไลน์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิมพ์มณี รัตนวิชา
dc.contributor.author พิมพ์ชนก นายนนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:36:02Z
dc.date.available 2022-07-23T04:36:02Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79733
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ปัจจุบันการพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น การใช้การตลาดแบบพันธมิตรออนไลน์จึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตตามการซื้อสินค้าของลูกค้าเช่นกัน งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อความตั้งใจใช้งานและความตั้งใจบอกต่อของผู้ซื้อสินค้าบนแอปพลิเคชันการตลาดค้าปลีก แบบพันธมิตรออนไลน์ โดยวัดระดับความพึงพอใจจากลักษณะเฉพาะของบุคคล และคุณสมบัติของแอปพลิเคชัน งานวิจัยนี้อ้างอิงจากแอปพลิเคชันช้อปแบ็ค (ShopBack) ซึ่งดำเนินธุรกิจการตลาดแบบพันธมิตรออนไลน์ในประเทศไทย มีตัวแปรแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์เพิ่มเติม คือ เพศตามกำเนิดของผู้ใช้งาน ได้แก่ (1) เพศชาย และ (2) เพศหญิง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้ Google Forms ผลจากการวิจัยพบว่าตัวแปรต้นทุกตัวของงานวิจัยนี้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวิเคราะห์ตามเพศกำเนิดของผู้ใช้งาน ผลลัพธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตามยังคงมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ที่ไม่มีตัวแปรที่ใช้ในการแบ่งกลุ่ม ดังนั้น การวางแผนในการประยุกต์ใช้ตัวแปรต้นของผู้ที่สนใจดำเนินธุรกิจการตลาดแบบพันธมิตรออนไลน์ จึงอาจจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจการตลาดแบบพันธมิตรออนไลน์ในอนาคต
dc.description.abstractalternative Nowadays, electronic commerce in Thailand has grown exponentially. Moreover, due to the COVID-19 pandemic situation, more customers are buying goods and services through online channels. The use of online affiliate marketing, therefore, tends to grow along with this trend of online purchase as well. The aim of this research is to study the variables that affect intention to use and word-of-mouth intention of shoppers on online retail affiliate marketing applications by measuring the level of satisfaction derived from personal characteristics and application features. This research is based on ShopBack application, which operates online affiliate marketing business in Thailand. Classification variable for further analysis is sex of users which has two values: (1) male and (2) female. This research collects data from questionnaires via Google Forms. The result is clearly showed that all independent variables have different positive correlation with dependent variables at statistically significant levels. Moreover, analysis using sex of users as a grouping variable has similar results at statistically significant levels as analyzing without this grouping variable. Therefore, planning to apply independent variables to shoppers who interest in online affiliate marketing business could be beneficial in the future.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.468
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้งานและความตั้งใจบอกต่อของแอปพลิเคชันการตลาดค้าปลีกแบบพันธมิตรออนไลน์
dc.title.alternative Factors influencing intention to use and word-of-mouth intention of online retail affiliate marketing application
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.468


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record