DSpace Repository

การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรรจน์ เศรษฐบุตร
dc.contributor.author กันตพงศ์ ศรีเมือง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:38:37Z
dc.date.available 2022-07-23T04:38:37Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79741
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การใช้พลังงานของอาคารในช่วงการก่อสร้างและช่วงใช้งานอาคาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับชั้นบรรยากาศโลก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการที่มีในปัจจุบัน โดยทำการเก็บข้อมูลอาคารสำนักงานและอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย เพื่อใช้เป็นแบบอาคารอ้างอิง และศึกษามาตรการในกลุ่มการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มวัสดุฉนวนผนัง  กลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา กลุ่มพลังงานทดแทน กลุ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ รวมถึงกลุ่มระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยศึกษาจากฐานข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ICE Version 2 และค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ.2563 ของประเทศไทย จากองค์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นำเสนอด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน จากการศึกษาในช่วงอายุอาคาร 60 ปี พบว่า ในอาคารสำนักงาน การติดตั้งกระจกฉนวนกันความร้อน เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 7.99% และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 5.98% ในอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ทุกมาตรการมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกเว้นกลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา การใช้ระบบปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 3 ดาว เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 10.37 และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 1.31
dc.description.abstractalternative Energy consumption during the Cradle-to-Gate and Use-Phase is still the main factor of the CO2 emission in the atmosphere. This research aims to study the effectiveness of various energy conservation measure related to buildings to assess the cost-effectiveness of existing energy conservation measures. In addition, the data collected from office and residential condominium buildings was used as a baseline to study the energy conservation measures for building designs : orientations, wall insulations, roof insulations, solar cells, cooling systems, and lighting systems. The estimations of greenhouse gas emission factors based on ICE Version 2, and Thailand Greenhouse Gas Management Organization in 2020 by using Marginal Abatement Cost Curves were also analyzed. According to the study of buildings that were built over 60 years, it was found that in the office building, installation of insulated glass is the most cost-effective option due to the ability to reduce the emission of CO2 by 7.99% and reduce the life cycle costs by 5.98%. In residential condominium buildings, all energy conservation measures are effective in reducing CO2 emissions except the use to roof insulations. Among this, energy conservation measure cooling – EER=22.5, is the most cost-effective choice with its capability to reduce CO2 emissions by 10.37% and reduce life cycle costs by 1.31%.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1039
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Energy
dc.title การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน
dc.title.alternative Evaluation of energy conservation measures and greenhouse gas emission reduction in office and residential condominium buildings using marginal abatement cost curves
dc.type Thesis
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1039


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record