DSpace Repository

การศึกษากลวิธีเพื่อเข้าถึง คงอยู่ และออกจากสภาวะทางอารมณ์โศกเศร้า จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร : กรณีศึกษา ตัวละคร “คณิตา” ผู้แต่งเดวิด ออร์เบิร์นในบทละครเรื่องบทพิสูจน์ (2543)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พันพัสสา ธูปเทียน
dc.contributor.author ชีวารัตน์ กสิบาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:57:20Z
dc.date.available 2022-07-23T04:57:20Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79963
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract หลักมหาสติปัฏฐานสูตร คือการเจริญสติโดยมีสติเป็นประธานตามรู้ตามดูสภาวะที่เกิดขึ้นกับตนเองตามความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ แบ่งออกเป็น 4 หลักได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้วิจัยได้นำหลักธรรมนี้มาปฏิบัติเพื่อหากลวิธีการเข้าถึงสภาวะ คงอยู่ และออกจากสภาวะภายในของตัวละครที่มีลักษณะอารมณ์โศกเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (Grief and Bereavement) ซึ่งมีสภาวะอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย และมีลักษณะอาการใกล้เคียงโรคทางจิตเวชชนิดไม่รุนแรงมากนัก โดยมีจุดมุ่งหมายในศึกษาการเข้าถึง คงอยู่ และออกจากสภาวะภายในของตัวละครโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของนักแสดง งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผลการฝึกปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร, บันทึกการทำงานของผู้วิจัย, ผลการวิเคราะห์จากการรวบรวมข้อมูล และแบบสอบถามจากผู้ชม ผลการศึกษาพบว่า การฝึกปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรมีความละเอียดและลึกซึ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญ จึงไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างสูงสุดในหลักการได้ แต่ยังคงประโยชน์หลายส่วนที่นักแสดงสามารถทำความเข้าใจ นำมาเริ่มต้นปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง และนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการแสดงของตนได้
dc.description.abstractalternative The Principle of the Discourse of Four Foundations of Mindfulness is the development of mindfulness with the presiding mind according to the knowledge of the state that occurs with one's self according to reality in the present moment. It is divided into 4 principles as body, Feeling, Mind and Dharma (Truth). The researcher has applied the Dharma principles to practice to find techniques for researcher the emotional state, staying in the emotion and out of the emotional state on grief and bereavement character which has a sensitive emotional state and has symptoms similar to those of mild psychiatric disorders. It aims to study the inner emotions of the characters without affecting the actor's mental state. This research is a practical research. The researcher used the method of collecting data from the results of practicing the principle of the discourse of four foundations of mindfulness, the researcher's work record, the analysis results from the data collection. and a questionnaire from the audience. The results of the study found that Practicing the principles of the discourse of four foundations of mindfulness is very detailed and profound. Its main objective is to achieve the path of nirvana. Therefore unable to achieve the highest success in principle But there are still many benefits that actors can understand. bring it into practice for self-improvement and can be used to develop their acting potential.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1030
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การศึกษากลวิธีเพื่อเข้าถึง คงอยู่ และออกจากสภาวะทางอารมณ์โศกเศร้า จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร : กรณีศึกษา ตัวละคร “คณิตา” ผู้แต่งเดวิด ออร์เบิร์นในบทละครเรื่องบทพิสูจน์ (2543)
dc.title.alternative The study of techniques for reaching the emotional state, staying in the emotional and out of the emotional state of grief and bereavement by the principle of the discourse of four foundations of mind fulness : a case study of “Kanita” in David Auburn’s proof (2000)
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ศิลปการละคร
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1030


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record