dc.contributor.advisor |
ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล |
|
dc.contributor.advisor |
จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ |
|
dc.contributor.author |
นทอร ชูมา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T05:12:13Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T05:12:13Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79987 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเม็ดบีดผสมระหว่างอัลจิเนตและกรดไฮยาลูรอนิคเพื่อประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเจนตามัยซิน ซึ่งเตรียมเม็ดบีดผสมในอัตราส่วนการผสมโดยน้ำหนัก AL70HA30, AL50HA50 และ AL70HA30 โดยเทคนิคเชื่อมขวางด้วยไอออน และปรับปรุงความคงตัวของเม็ดบีดด้วยเทคนิคการเคลือบชั้นต่อชั้น โดยใช้วัสดุ 2 ชนิดที่มีความแตกต่างกันทางประจุ ได้แก่ เจลาตินชนิดเอที่มีประจุบวก และอัลจิเนตที่มีประจุลบ ที่จำนวนชั้นเคลือบ 1, 2, 4 และ 8 ชั้น จากผลการศึกษาพบว่า เม็ดบีดเปียกมีลักษณะค่อนข้างกลม โดยเม็ดบีดมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคในสารละลายผสมมากขึ้นเนื่องจากความหนืดของสารละลายผสมมาก เมื่อทดสอบความคงตัวของเม็ดบีดโดยเก็บรักษาเม็ดบีดที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส พบว่า เม็ดบีดที่มีสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคไม่เกินร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ที่ผ่านการเคลือบ 2 ชั้น มีร้อยละน้ำหนักเปียกหายไปน้อยและมีปริมาณกรดไฮยาลูรอนิคคงเหลือในเม็ดบีดมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเม็ดบีดที่มีสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคมาก เนื่องจากเม็ดบีดที่มีสัดส่วนของอัลจิเนตมากจะมีค่าศักย์เซต้าเป็นลบมากส่งผลให้มีโอกาสในการเชื่อมขวางด้วยไอออนและเกิดอันตรกิริยาไฟฟ้าสถิตในขั้นตอนการก่อตัวเป็นเม็ดบีดและขั้นตอนการเคลือบที่แข็งแรงกว่าให้กับเม็ดบีด งานวิจัยนี้จึงเลือกเม็ดบีดทั้งสองสูตรข้างต้นไปทำแห้งโดยเทคนิคการทำแห้งแบบเยือกแข็ง โดยเม็ดบีดแห้งมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 0.92-1.39 มิลลิเมตร ผลการทดสอบความสามารถในการบวมน้ำของเม็ดบีดแห้ง พบว่า เม็ดบีดที่มีสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคมากจะมีความสามารถในการบวมน้ำมากกว่า โดยเม็ดบีดที่แช่ในสารละลายนอร์มัลซาไลน์มีความสามารถในการบวมน้ำมากกว่ากรณีแช่ในน้ำปราศจากไอออนหลายสิบเท่า เมื่อทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ ที่สภาวะจำลองข้ออักเสบ พบว่า เม็ดบีดแห้งที่มีสัดส่วนของอัลจิเนตมากจะถูกย่อยสลายช้ากว่าเม็ดบีดที่มีสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคมาก เมื่อนำเม็ดบีดแห้งไปดูดซับเจนตามัยซิน พบว่า เม็ดบีดมีประสิทธิภาพในการดูดซับเจนตามัยซินประมาณ 69-89 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณเจนตามัยซินที่ถูกดูดซับได้ในเม็ดบีดประมาณ 0.26-0.47 มิลลิกรัม/เม็ดบีด 1 มิลลิกรัม โดยเม็ดบีดแห้งที่มีสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคมากสามารถดูดซับเจนตามัยซินมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากมีความสามารถในการบวมน้ำสูง เม็ดบีดแห้งนี้สามารถปลดปล่อยเจนตามัยซินภายใต้สภาวะจำลองข้ออักเสบโดยอาศัยกลไกการปลดปล่อยแบบการแพร่และการย่อยสลายของเม็ดบีด ประกอบกับแรงอันตรกิริยาไฟฟ้าสถิตระหว่างประจุลบของเม็ดบีดและประจุบวกของเจนตามัยซิน ซึ่งเม็ดบีดที่มีสัดส่วนของอัลจิเนตมากสามารถชะลอการปลดปล่อยเจนตามัยซินได้มากกว่าเม็ดบีดที่มีสัดส่วนของกรดไฮยาลูรอนิคมาก ผลการทดสอบการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิด E.coli และแบคทีเรียแกรมบวกชนิด S.aureus ในระดับห้องปฏิบัติการ ของเม็ดบีดที่ดูดซับเจนตามัยซิน พบว่า สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้เป็นระบบควบคุมการปลดปล่อย |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to develop beads from alginate (AL) blended with hyaluronic acid (HA) for the controlled release of gentamicin. The AL/HA beads at different weight ratios; AL70HA30, AL50HA50 and AL30HA70, were fabricated by ionic crosslinking technique. To stabilize the beads, layer-by-layer coating technique using oppositely charged species; type A gelatin (positive charge) and AL solutions (negative charge), at 1, 2, 4 and 8 layers. The results showed that the AL/HA beads were in relatively spherical form. The average size of obtained beads increased when increasing HA content, due to the higher viscosity of solutions. The stability test of beads at 4ºC showed that the beads containing HA not more than 50wt% with two-layered coating had little wet weight loss (%) and high remaining content of HA contents in the beads. This might be the result of the more negative charge, of stronger attraction ionic crosslinking and electrostatic interaction in the formation and coating process of the beads. After lyophilization technique, the average size of dried beads were 0.92-1.39 mm. The dried beads were swollen more when increasing HA content and immersed in normal saline solution compared to in DI water. It was found that that the beads with high AL content were degraded slower than the one with high HA content. It was observed that gentamicin could be adsorbed into the beads with the entrapment efficiency of 69-89% and the drug loading of 0.26-0.47 mg/1 mg of bead. The bead with higher HA content could absorb more gentamicin due to the greater swelling ability. When the release of gentamicin from the beads in simulated synovial fluid solution was tested, it was found that the beads with high AL content could prolong the release of gentamicin. The release kinetics were governed by diffusion and degradation mechanisms combined with electrostatic interaction between negative charge (beads) with positive charge (gentamicin). The in vitro antibacterial susceptibility test showed that the beads effectively inhibited the growth of bacterial, indicating the possibility of applying the beads as controlled release systems. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.882 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Chemical Engineering |
|
dc.title |
การเตรียมและคุณลักษณะของเม็ดบีดผสมระหว่างอัลจิเนตและกรดไฮยาลูรอนิค สำหรับการประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อย |
|
dc.title.alternative |
Preparation and characteristics of alginate/hyaluronic acid blended beads for controlled release application |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเคมี |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.882 |
|